วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา วิทยาศาสตร์ - น้ำและอากาศบนโลก

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา วิทยาศาสตร์ - น้ำและอากาศบนโลก



Download - เนื้อหา





น้ำและอากาศบนโลก



น้ำกับสิ่งมีชีวิต
          บนผิวโลกของเราประกอบไปด้วยพื้นน้ำ 3 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน น้ำมีทั้งน้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำในบรรยากาศ

-        น้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ และมหาสมุทร เป็นน้ำที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุด
-        น้ำใต้ดิน มี 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล
-        น้ำในบรรยากาศ เช่น ไอน้ำ ละอองน้ำในอากาศ เป็นต้น

วัฏจักรของน้ำ
          วัฏจักรของน้ำ คือ ลักษณะของน้ำที่หมุนเวียน เกิดจากการระเหยของน้ำบนพื้นโลก โดยแสงแดด ความร้อน ลม เมื่อไอน้ำลอยขึ้นสูง จะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ แล้วเคลื่อนที่ไปตามกระแสลม เมื่อไปกระทบความเป็นเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นดิน น้ำฝนไหลลงสู่แหล่งน้ำ บนผิวดิน และใต้ดินต่อไป ปรากฏการณ์หมุนเวียนของน้ำ เราเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ

สมบัติของน้ำ
1.      สถานะของน้ำ
น้ำมีได้ 3 สถานะ คือ สถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ภาวะปกติ น้ำมีสถานะเป็นของเหลว และมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
น้ำเมื่อได้รับความร้อนถึงจุดเดือนจะเปลี่ยนไปเป็นสถานะไอ หรือ สถานะแก๊ส และเช่นเดียวกับเมื่อน้ำได้รับความเย็นจะเปลี่ยนไปเป็นสถานะของของแข็งที่อุณหภูมิศูนย์องศาเซลเซียส



2.      การเคลื่อนที่ของน้ำ
น้ำจะไหลเคลื่อนที่เพื่อรักษาระดับผิวน้ำให้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกันอย่างไร
น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า ด้วยแรงดึงดูดของโลก ซึ่งทำให้น้ำจากที่สูงไหลไปรวมกับน้ำในแหล่งต่าง ๆ ที่ต่ำกว่า เช่น น้ำตก น้ำในทะเล มหาสมุทร

3.     แรงดันของน้ำ
แรงดันของน้ำ คือ แรงของน้ำที่กดลงบนพื้นที่บริเวณหนึ่ง ๆ แรงดันของน้ำจะสัมพันธ์กับระดับความลึกของน้ำ โดยน้ำที่ระดับเดียวกันจะมีแรงแรงดันของน้ำเท่ากัน และน้ำที่ระดับลึกกว่าจะมีแรงดันมากกว่าน้ำที่ระดับตื้นกว่า

ประโยชน์ของน้ำ
  1)      คนและสัตว์ใช้ดื่มกิน ใช้ประกอบอาหาร ชำระล้างร่างกาย สิ่งสกปรก และเหงื่อไคลที่ติดตามร่างกาย
  2)     ใช้ในการเกษตร การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์
  3)     ใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมทุกชนิด เพราะอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องอาศัยน้ำ เป็นวัตถุดิบ เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม ใช้ระบายความร้อนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ใช้ล้างทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ และกากของเสียต่าง ๆ เป็นต้น
  4)      ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อสื่อสาร และติดต่อทางการค้า
  5)     เรานำพลังงน้ำจากการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า เช่นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น
  6)     เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และพืช เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย และสาหร่ายทุกชนิด
  7)      เป็นแหล่งของทรัพยากรที่สำคัญ เช่น แก๊สธรรมชาติ และเกลือ เป็นต้น
  8)     เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ






อากาศกับสิ่งมีชีวิต
          อากาศเป็นสสารชนิดหนึ่ง มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ โลกของเรามีอากาศห่อหุ้มอยู่ เราเรียกอากาศที่อยู่รอบตัวเรา และห่อหุ้มโลกของเราว่า บรรยากาศ

ส่วนประกอบของอากาศ
          อากาศประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด ส่วนประกอบของแก๊สที่สำคัญในอากาศโดยปริมาตร ได้แก่
-        ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78
-        ออกซิเจน จำนวนร้อยละ 21
-        อาร์กอน จำนวนร้อยละ 0.93
-        คาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนร้อยละ 0.03
-        แก๊สอื่น ๆ ฝุ่นละอองและไอน้ำ จำนวนร้อยละ 0.04

สมบัติของอากาศ
  1)      อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
  2)     อากาศมีน้ำหนัก
  3)     อากาศต้องการที่อยู่
  4)      อากาศเคลื่อนที่ได้ อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศ หรือ ลม


อากาศจะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย บางเวลา เคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขั้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ หรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่าง ๆ คือ เทอร์มอมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์


ประโยชน์ของอากาศ
  1)      อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
  2)     อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิ ไม่ให้ร้อน หรือเย็นเกินไป นอกจากนั้น บรรยากาศที่หุ้มห่อโลกของเรายังทำหน้าที่กรอง และดูดรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงเหนือม่วงไว้ไม่ให้ผ่านเข้ามาสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต
  3)     ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ

  4)      ทำให้เกิดเมฆฝน และเกิดฝน















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...