วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์



Download - เนื้อหา



สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์



เวลา
          การนับเวลาตามแบบสุริยคติ
          การนับเวลาตาแบบสุริยคติ หมายถึง การใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ในการนับเวลา ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ใช้การนับเวลาตามแบบสุริยคติเป็นมาตรฐานในการนับเวลา

          การนับเวลาตามแบบสุริยคติ มีวิธีการดังต่อไปนี้
-        การนับวัน
การนับวันตามแบบสุริยคติ เป็น 1 วัน แบ่งออกเป็น 24 ชั่วโมง ตามเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ซึ่งแบ่งเป็นกลางวันและกลางคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 01.00 นาฬิกา จนถึง 24.00 นาฬิกา

-        การนับสัปดาห์
1 สัปดาห์ มีทั้งหมด 7 วัน ได้แก่ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์

-        การนับเดือน
การนับเวลาตามแบบสุริยคติภายใน 1 ปี มีทั้งหมด 365 - 366 วัน และแบ่งเดือนออกเป็น 12 เดือน ตามระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เดือนตามแบบสุริยคติ มีดังนี้
o  เดือนมกราคม      มี 31 วัน
o  เดือนกุมภาพันธ์   มี 28 หรือ 29 วัน ในปีที่มี 29 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
o  เดือนมีนาคา        มี 31 วัน
o  เดือนเมษายน       มี 30 วัน
o  เดือนพฤษภาคม   มี 31 วัน
o  เดือนมิถุนายน      มี 30 วัน
o  เดือนกรกฎาคม    มี 31 วัน
o  เดือนสิงหาคม      มี 31 วัน
o  เดือนกันยายน      มี 30 วัน
o  เดือนตุลาคม       มี 31 วัน
o  เดือนพฤศจิกายน  มี 30 วัน
o  เดือนธันวาคม      มี 31 วัน

การนับเวลาตามแบบจันทรคติ
การนับเวลาตามแบบจันทรคติ หมายถึง การใช้ดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ในการนับเวลาซึ่งเป็นการนับเวลาตามแบบไทยโบราณ

          การนับวัน
          การนับวันภายใน 1 เดือน แบ่งเป็น ข้างขึ้น แบบจันทรคติ ใช้เกณฑ์ระยะเวลาที่ดวงจันทร์ โคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ดังนั้น 1 เดือน จึงมีทั้งหมด 30 วัน เท่ากับ แบบสุริยคติ แต่แบบจันทรคติแบ่งเป็นข้างขึ้นและข้างแรม ข้างละ 15 วัน ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะของดวงจันทร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน โดยเริ่มจากวันดวงจันทร์เต็มดวง เรียกว่า วันเพ็ญ” แล้วค่อย ๆ หายไปทีละนิดจนกระทั่งมิดทั้งดวง จากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมาทีละนิด จนเต็มดวงอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ไปเรื่อย ๆ จนถึง 15 ค่ำ และข้างแรมเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เรื่อยไปจนถึง 15 ค่ำในบางเดือนอาจมี 29 หรือ 30 วัน ซึ่งวันแรมจะหายไป 1 วัน เหลือเพียง 14 ค่ำ

          การนับเดือน
          ใน 1 ปี แบ่งออกเป็น 12 เดือน มีวันทั้งหมด 354 วัน เริ่มเดือนที่ 1 หรือเดือนอ้าย ประมาณกลางเดือนธันวาคา และในทุก ๆ 4 ปี จะมีเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน เรียกว่า ปีอธิกมาส” การนับแบบจันทรคติแบ่งเป็น 12 เดือน ดังนี้
o  เดือนที่ 1   เรียกว่า                   เดือนอ้าย
o  เดือนที่ 2   เรียกว่า                   เดือนยี่
o  เดือนที่ 3   เรียกว่า          เดือน 3
o  เดือนที่ 4   เรียกว่า          เดือน 4
o  เดือนที่ 5   เรียกว่า          เดือน 5
o  เดือนที่ 6   เรียนว่า          เดือน 6
o  เดือนที่ 7   เรียกว่า          เดือน 7
o  เดือนที่ 8   เรียกว่า          เดือน 8
o  เดือนที่ 9   เรียกว่า          เดือน 9
o  เดือนที่ 10           เรียกว่า                    เดือน 10
o  เดือนที่ 11 เรียกว่า                    เดือน 11
o  เดือนที่ 12           เรียกว่า          เดือน 12

การนับแบบปีนักษัตร
เป็นการนับปีแบบไทยโบราณ อันมีสัตว์ประจำปีเกิด มีทั้งหมด 12 ปี อันถือเป็น 1 รอบ ดังนี้
o  ปีชวด       สัตว์ประจำปีเกิด คือ   หนู
o  ปีฉลู        สัตว์ประจำปีเกิด คือ   วัว
o  ปีขาล       สัตว์ประจำปีเกิด คือ   เสือ
o  ปีเถาะ      สัตว์ประจำปีเกิด คือ   กระต่าย
o  ปีมะโรง    สัตว์ประจำปีเกิด คือ   งูใหญ่
o  ปีมะเส็ง    สัตว์ประจำปีเกิด คือ   งูเล็ก
o  มีมะเมีย    สัตว์ประจำปีเกิด คือ   ม้า
o  ปีมะแม     สัตว์ประจำปีเกิด คือ   แพะ
o  มีวอก       สัตว์ประจำปีเกิด คือ   ลิง
o  ปีระกา      สัตว์ประจำปีเกิด คือ   ไก่
o  ปีจอ         สัตว์ประจำปีเกิด คือ   หมา หรือสุนัข
o  ปีกุน        สัตว์ประจำปีเกิด คือ   สุกร หรือ หมู

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์
1)      สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2325 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยการปกครองในสมัยนี้ยังคงใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองราชอาณาจักรแต่เพียงผู้เดียว เหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา

2)     สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านโดยเฉพาะการปกครองที่มีปรับปรุงเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น แต่ยังคงใช้การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

3)     สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย

เริ่มตั้งแต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน ในสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่การปกครองของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น


Download - เนื้อหา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...