วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์


Download - เนื้อหา




สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์



ลักษณะทางกายภาพ
          ลักษณะภูมิประเทศ
1)      ภาคเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกอย่างรุนแรงหลายครั้งทำให้เกิดหินคดโค้งโก่งตัวขึ้น เกิดเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
-        เทือกเขาที่สำคัญในภาคเหนือ ได้แก่
o  เทือกเขาแดนลาว
o  เทือกเขาถนนธงชัย
o  เทือกเขาผีปันน้ำ
o  เทือกเขากลวงพระบาง
-        แม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ ได้แก่
o  แม่น้ำกก
o  แม่น้ำปิง
o  แม่น้ำวัง
o  แม่น้ำยม
o  แม่น้ำน่าน

2)     ภาคกลาง
ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลาง เกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลก ทำให้มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดิน ทำให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ
เทือกเขาที่สำคัญในภาคกลาง ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์
-        แม่น้ำสายสำคัญในภาคกลาง มีดังนี้
o  แม่น้ำเจ้าพระยา
o  แม่น้ำสะแกกรัง
o  แม่น้ำป่าสัก
o  แม่น้ำท่าจีน
3)     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นแผ่นดินที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช  มีความสูงเฉลี่ย ระหว่าง 150 – 250 เมตร
-        เทือกเขาตอนในของภาคที่สำคัญ ได้แก่
o  เทือกเขาภูพาน
o  เทือกเขาดงพญาเย็น
o  เทือกเขาพนมดงรัก
-        แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่
o  แม่น้ำโขง
o  แม่น้ำชี
o  แม่น้ำมูล

4)     ภาคตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ เทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และชายฝั่งทะเล
-        เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่
o  เทือกเขาจันทบุรี
o  เทือกเขาบรรทัด
-        แม่น้ำที่สำคัญได้แก่
o  แม่น้ำบางปะกง (แม่น้ำปราจีนบุรี หรือแม่น้ำแปดริ้ว)

5)     ภาคตะวันตก
ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก คล้ายคลึงกับภาคตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ เทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และชายฝั่งทะเล
-        เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่
o  เทือกเขาถนนธงชัยกลาง
o  เทือกเขาตะนาวศรี
-        แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่
o  แม่น้ำแม่กลอง
o  แม่น้ำเพชรบุรี
o  แม่น้ำแควใหญ่
o  แม่น้ำแควน้อย

6)     ภาคใต้
ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ เทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และชายฝั่งทะเล
-        เทือกเขาที่สำคัญ ดังนี้
o  เทือกเขาสันกาลาคีรี
o  เทือกเขาตะนาวศรี
o  เทือกเขาภูเก็ต
o  เทือกเขานครศรีธรรมราช
-        แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่
o  แม่น้ำปากพนัง
o  แม่น้ำตาปี
o  แม่น้ำปัตตานี


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
          แผนที่
          แผนที่ หมายถึง แผนภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นโลก ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยการใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และสี แทนสิ่งต่าง ๆ

          องค์ประกอบของแผ่นที่
1)      ชื่อแผนที่ แสดงถึงประเภทของแผนที่ เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง
2)     มาตราส่วน เป็นการระบุว่า แผนที่ย่อมาจากขนาดจริงเท่าใด เพื่อสะดวกในการคำนวณระยะจริง
3)     สัญลักษณ์ หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้แทนสัญลักษณ์ภูมิประเทศ เช่น





4)      สีใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศ มี 4 สี ได้แก่
-        สีน้ำตาล        ใช้แทน                    ลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศ
-        สีดำหรือแดง   ใช้แทน                    สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
-        สีเขียว           ใช้แทน                    พืชพรรณ ป่าไม้
-        สีน้ำเงิน         ใช้แทน                    แหล่งน้ำ
5)     ทิศทาง โดยการทำเครื่องหมาย และมีการเขียนตัว   น. หรือ  N  (มาจาก North) หมายถึงทิศเหนือ ดังนี้

6)     พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นเส้นต่าง ๆ บนแผนที่ เพื่อให้หาที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ บนแผนที่ได้ง่าย โดยมีเส้นต่าง ๆ ดังนี้
6.1) เส้นละติจูด เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
6.2) เส้นลองติจูด เป็นเส้นสมติที่ลากจากทิศเหนือไปทิศใต้

          แผนผัง
          แผนผัง หมายถึง แผนภาพที่แสดงตำแหน่ง หรือที่ตั้งของสถานีหรือสิ่งของ เช่น แผนผังสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ โรงเรียน ชุมชน สวนสนุก หมู่บ้าน เป็นต้น การเขียนแผนผังมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเขียนแผนที่ แต่ส่วนใหญ่ใช้ในสถานที่ที่มีขนาดเล็ก

          เครื่องมือทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ
1)      ลูกโบก มีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายโลกของเรา โดยมีแกนเอียง 23.5 องศาเหมือนกับแกนโลก ลูกโลกจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก
2)     เข็มทิศ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับหาทิศทางโดยเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ
3)     เทอร์มอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ เพื่อบันทึกเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ในช่วงเวลานั้น ๆ
4)      เครื่องมือวัดทิศทางลม บนเครื่องมือมีหน้าปัดแบ่งทิศออกเป็น 360 องศา โดยมีจุดเริ่มต้นเป็นทิศเหนือ แล้วนับหมุนตามเข็มนาฬิกาไปทางขวา ซึ่งเมื่อลมพัน เครื่องมือนี้จะหมุน ทำให้เราทราบทิศทางลมได้ว่า ลมพัดมาจากไหน ไปทางไหน โดยสังเกตุแนวศรลมกับแท่งโลหะชี้ทิศ

สิงแวดล้อมทางธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อม
          สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1)      สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า ดิน น้ำ เป็นต้น สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินั้น ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ทั้งคน สัตว์ และพืช
-        สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช
-        สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ


2)     สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
-        สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น รถยนต์ โทรศัพท์ วิทยุ บ้าน ถนน สะพาน เครื่องใช้ หนังสือ คอมพิวเตอร์ รถไฟ เป็นต้น
-        สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่วัตถุ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ แต่แสดงออกมาในด้านการกระทำ เช่น ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา เป็นต้น


การอนุรักษ์น้ำ
1)      ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้โดยไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์
2)     ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง เพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำไม่ให้เน่าเสีย
3)     นำน้ำที่ใช้แล้วมาใช้อีกครั้ง
4)      เมื่อแปรงฟัน ควรใช้แก้วรองน้ำ
5)     ไม่อาบน้ำโดยใช้ขันตัก ให้ใช้ฟักบัวแทน เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ
6)     ล้างรถยนต์โดยการนำน้ำใส่ถังแล้วค่อย ๆ ล้าง แทนการใช้สายยาง
7)      ช่วยกันปลูกป่า เพราะป่าเป็นต้นกำเนิดของน้ำ อีกทั้งยังทำให้เกิดความชุ่มชื้น ซึ่งทำให้มีฝนตก
8)     ทำความสะอาดแหล่งน้ำ โดยการช่วยกันเก็บสิ่งสกปรกขึ้นจากแม่น้ำ ลำคลอง และขุดลอกคูคลองเพื่อไม่ให้ตื้นเขิน หรือมีตะกอนสกปรก
9)     สร้างที่กักเก็บน้ำ เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในฤดูฝน ไว้ใช้ในฤดูแล้ง เช่น อ่างเก็บน้ำ บึง บ่อน้ำ เป็นต้น
10)  โรงงานอุตสาหกรรม ควรบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทะเล เพื่อไม่ให้แหล่งน้ำธรรมชาติต้องเน่าเสีย

ทรัพยากรดิน
ดินมีประโยชน์ต่อมนุษย์หลายอย่าง เช่น ใช้สร้างที่อยู่อาศัย ใช้เพาะปลูกพืช ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์

          การอนุรักษ์ดิน
1)      ใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ ในการบำรุงพืช แทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมสภาพ
2)     ปลูกพืชเป็นแนวกั้นน้ำ การทำดินเป็นขั้นบันได หรือทำทางน้ำไหล เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำชะล้างหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไป
3)     หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
4)      ปลูกพืชแบบวนเกษตร คือ การปลูกพืชขนาดใหญ่ พืชขนาดเล็ก ประกอบกับการเลี้ยงสัตว์ไปพร้อม ๆ กัน

ทรัพยากรป่าไม้
          ป่าไม้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของดลกอย่างมาก ประโยชน์ที่สำคัญของป่าไม้ คือ การรักษาสมดุลทางธรรมชาติของโลกมนุษย์ คือ ทำให้เกิดฝน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งฟอกอากาศ และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

          การอนุรักษ์ป่าไม้
1)      ไม่บุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำพื้นที่ป่าไม้มาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพราะเป็นประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่ากับการสูญเสีย
2)     ช่วยกันปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายไป
3)     ออกกฎหมายคุ้มครองและควบคุมไม่ให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า
4)      ใช้วัสดุชนิดอื่นแทนการใช้ไม้จากธรรมชาติ เช่น พลาสติก ปูนซีเมนต์ หรือไม้ที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ตาล ไม้ไผ่ ไม้ยางพารา
5)     ช่วยกันป้องกันไฟป่า โดยไม่จุดไฟ หรือก่อกองไฟในป่า หรือจัดชุดป้องกันไฟป่า


ทรัพยากรสัตว์ป่า
สัตว์ป่า มีส่วนสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก ช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติ

การอนุรักษ์สัตว์ป่า
1)      ไม่บุกรุกที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
2)     ไม่ล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งเพื่อมาเป็นอาหาร นำมาทำเครื่องประดับ หรือนำหนังมาเป็นเครื่องนุ่งห่ม

3)     ไม่สนับสนุนการค้าสัตว์ป่า หรือชิ้นส่วนของสัตว์ป่า เช่น งาช้าง เขาสัตว์ หนังสัตว์ เป็นต้น














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...