วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์

Download - เนื้อหา



สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์



เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
          เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
          ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง รูปแบบและวิธีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การผลิต การบริหาร และการบริโภค

          ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้สิทธิเสรีภาพในการผลิต การบริหาร และการบริโภคสินค้า และบริการได้ตามความต้องการ

          ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1)      มีสินค้าและบริการในตลาดให้เลือกจำนวนมาก
2)     ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้า อุปโภค และบริโภคได้ตรงตามความต้องการของตน
3)     ผู้ผลิตที่ต้องการลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้น้อยลง
4)      สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น เพราะผู้ผลิตต้องการแข่งขันกันจำหน่ายสินค้า
5)     มีสินค้าในตลาดจำนวนมาก เป็นประโยชน์ของผู้บริโภคที่สามารถเลือซื้อสินค้าในการบริโภคได้

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1)      เอกชนมีการมุ่งแสวงหาผลกำไรกันมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจ
2)     การแข่งขันกันสูงในทางการตลาด ทำให้ผู้ที่มีเงินทุนมากกว่าได้เปรียบผู้ที่มีเงินทุนน้อยกว่า
3)     อาจทำให้เกิดการผูกขาดทางการตลาดได้ ถ้าผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันรวมตัวกัน และอาจทำให้สินค้ามาราคาสูงขึ้นได้
4)      ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างรายได้ของประชาชนภายในประเทศสูง เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง
5)     อาจเกิดภาวะขาดแคลนสินค้าได้ เช่น น้ำมันแพง เกิดจลาจล

เศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงพระราชทาน เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ประชาชนได้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักใช้จ่าย มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1)      ใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2)     อยู่อย่างประหยัด อย่างพอดี
3)     ลดความต้องการบริโภค อุปโภคในสิ่งที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะสินค้าจากต่างประเทศ
4)      มีความอดทนในการประกอบอาชีพของตนให้มากขึ้น
5)     ขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพของตน
6)     ช่วยเหลือกันภายในชุมชน
7)      นำทรัพยากรท้องถิ่นมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
8)     ผลิตอาหารเองภายในครัวเรือน เช่น ปลูกข้าว เลี้ยงปลา ปลูกผัก เลี้ยงไก่ ปลูกผลไม้

ธนาคาร
          ธนาคารเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป ห้างร้าน หรือบริษัทเอกชน โดยให้ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ยังให้บริการกู้ยืมเงินและเรื่อง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเงินตรา

          ธนาคารกลาง
          ธนาคารกลาง คือ ธนาคารซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลเงินตราให้แก่รัฐบาล ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 หน้าที่ของธนาคารกลาง มีดังนี้
1)      ควบคุม ดูแล และกำกับการทำงานของสถาบันการเงินทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งของรัฐและเอกชน
2)     ดูแลด้านการเงินให้แก่รัฐบาล เช่น ผลิตเงินเหรียญกษาปณ์ พิมพ์ธนบัตร กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เป็นต้น
3)     กำหนดนโยบายทางการเงินให้แก่รัฐบาล
4)      กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาล
5)     เป็นตัวแทนรัฐในการจ่ายเงินให้แก่องค์กรของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
6)     รับฝากเงินไม่มีดอกเบี้ยองค์กรของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ
7)      เป็นตัวแทนในการกู้เงินและชำระหนี้ให้แก่รัฐบาล
8)     ควบคุมและดูแลระบบการเงินของประเทศ

ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ คือ สถาบันการเงินของเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้
1)      รับฝากเงินออมของประชาชน ห้างร้าน บริษัท และบริษัทมหาชน โดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
2)     ให้บริการถอนเงินที่ลูกค้าของธนาคารนำมาฝาก
3)     ให้บริการกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ฝากเงิน
4)      รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
5)     ให้บริการเกี่ยวกับการเงินในด้านต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น


ธนาคารรูปแบบพิเศษ
ธนาคารรูปแบบพิเศษ คือ ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทย มีธนาคารรูปแบบพิเศษ 3 ธนาคาร ได้แก่
1)      ธนาคารออมสิน จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนประหยัด และรู้จักการออม โดยการนำเงินมาฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งปลอดภัย และได้ประโยชน์ตอบแทน
2)     ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของเกษตรซึ่งเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวมถึงให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่าง ๆ เช่น ให้ความรู้ด้านการเกษตรหาแหล่งจำหน่ายสินค้า เป็นต้น
3)     ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน หรือซื้อบ้าน

ภาษี
          ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเรียกเก็บจากประชาชนที่มีรายได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้าน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม

          ประเภทของภาษี
1)      ภาษีทางตรง เป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บโดยตรงจากบุคคลที่มีรายได้ บริษัท ห้างร้าน หรือบริษัทมหาชน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่ดิน ภาษีประกันสังคม ภาษีมรดก เป็นต้น

2)     ภาษีทางอ้อม คือ เป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ผลิต ห้างร้าน บริษัท หรือบริษัทจำกัดมหาชน แต่ผู้ผลิต หรือบริษัท ห้างร้าน หรือบริษัทจำกัดมหาชน สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ หรือผู้ขายสินค้าผลักภาระใหม่แก่ผู้ซื้อเป็นผู้เสีย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพาสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...