วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบ วิทยาศาสตร์ ป.1-2-3 - วิทยาศาสตร์ ป.3

คู่มือเตรียมสอบ - วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (แบบทดสอบ)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (แบบทดสอบ)






คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (แบบฝึกหัด)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (แบบฝึกหัด)








คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (เนื้อหา)














คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (แบบทดสอบ)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (แบบทดสอบ)











คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (แบบฝึกหัด)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (แบบฝึกหัด)








คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.2 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก (เนื้อหา)


Download
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 น้ำและอากาศบนโลก



          น้ำเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในการดำรงชีวิต ถ้าขาดน้ำ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ บนผิวโลกของเราประกอบไปด้วยพื้นน้ำ 3 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน น้ำมีทั้งน้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำในบรรยากาศ
-        น้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ และมหาสมุทร เป็นน้ำที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุด
-        น้ำใต้ดิน มี 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล
-        น้ำในบรรยากาศ เช่น ไอน้ำ ละอองน้ำในอากาศ เป็นต้น
วัฏจักรของน้ำ
          วัฏจักรของน้ำ คือ ลักษณะของน้ำที่หมุนเวียน เกิดจากการระเหยของน้ำบนพื้นโลกโดยแสงแดด ความร้อน ลม เมื่อไอน้ำลอยขึ้นสูงจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ แล้วเคลื่อนที่ไปตามกระแสลม เมื่อไปกระทบความเย็นเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นดิน น้ำฝนไหลลงสู่แหล่งน้ำบนผิวดิน และใต้ดินต่อไป ปรากฏการณ์หมุนเวียนของน้ำเราเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ




สมบัติของน้ำ
          น้ำบริสุทธิ์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส น้ำเป็นสสารมีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
          น้ำมีสมบัติเฉพาะตัวหลายประการ ดังนี้
1)      สถานะของน้ำ
น้ำมีได้ 3 สถานะ คือ สถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ภาวะปกติ น้ำมีสถานะเป็นของเหลว และมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ เช่น เมื่ออยู่ในแก้ว จะมีรูปร่างของแก้ว เป็นต้น




น้ำเมื่อได้รับความร้อนถึงจุดเดือด จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะไอ หรือสถานะแก๊ส และเช่นเดียวกับเมื่อน้ำได้รับความเย็นจะเปลี่ยนไปเป็นสถานะของของแข็งที่อุณหภูมิศูนย์องศาเซลเซียส





2)     การเคลื่อนที่ของน้ำ
น้ำจะไหลเคลื่อนที่เพื่อรักษาระดับผิวน้ำให้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกันอย่างไร



น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า ด้วยแรงดึงดูดของโลก ซึ่งทำให้น้ำจากที่สูงไหลไปรวมกันน้ำในแหล่งต่าง ๆ ที่ต่ำกว่า เช่น น้ำตก น้ำในทะเล มหาสมุทร




3)    แรงดันของน้ำ
แรงดันของน้ำ คือ แรงของน้ำที่กดลงบนพื้นที่บริเวณหนึ่ง ๆ แรงดันของน้ำจะสัมพันธ์กับระดับความลึกของน้ำ โดยน้ำที่ระดับเดียวกัน จะมีแรงดันของน้ำเท่ากัน และน้ำที่ระดับลึกกว่า จะมีแรงดันมากกว่าน้ำที่ระดับตื้นกว่า
ประโยชน์ของน้ำ
          น้ำมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช ดังนี้
1)      ด้านการอุปโภคบริโภค
คนและสัตว์ใช้ดื่มกิน วันหนึ่ง ๆ คนจะดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว เพราะจะทำให้ร่างกายสดชื่น ใช้ประกอบอาหาร ชำระล้างร่างกาย สิ่งสกปรก และเหงื่อไคลที่ติดตามร่างกาย




2)     ด้านเกษตรกรรม
ใช้ในการเกษตร การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์




3)    ด้านอุตสาหกรรม
ใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมทุกชนิด เพราะอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องอาศัยน้ำเป็นวัตถุดิบ เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม ใช้ระบายความร้อนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ใช้ล้างทำความสะอาดผลิตภัณฑ์และกากของเสียต่าง ๆ เป็นต้น





4)     ด้านการคมนาคมทางน้ำ
ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อสื่อสาร และติดต่อทางการค้า เช่น แพ เรือ ตามแม่น้ำลำคลอง สามารถขนส่งสินค้าได้ทีละมาก ๆ เป็นการคมนาคมขนส่งที่ราคาถูกกว่าใช้ระยนต์ หรือเครื่องบิน




5)    ด้านแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า
เรานำพลังงานน้ำจากการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น




6)     ด้านที่อยู่อาศัย
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและพืช เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย และสาหร่ายทุกชนิด




7)     ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นแหล่งของทรัพยากรที่สำคัญ เช่น แก๊สธรรมชาติ และเกลือ เป็นต้น




8)    ด้านนันทนาการ
เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ





คุณภาพของน้ำ

          น้ำตามแหล่งต่าง ๆ โดยทั่วไปจะมีสิ่งเจือปนอยู่ในปริมาณต่าง ๆ ตามประเภทของแหล่งน้ำ น้ำจากแหล่งน้ำบางแห่งมองดูแล้วใสสะอาด แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าน้ำนั้นสะอาดหรือไม่ น้ำที่สะอาดจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส สามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งเราเรียกว่า เป็นน้ำที่มีคุณภาพ
การปรับปรุงคุณภาพของน้ำ
          น้ำที่ใช้เพื่อการบริโภค และอุปโภคของคนเรานั้น หากได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจมีสิ่งเจือปนต่าง ๆ ละลายอยู่ ดังนั้นก่อนที่จะนำมาใช้จะต้องทำให้สะอาดเสียก่อนด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1)      การต้ม โดยต้มให้เดือดประมาณ 20 – 30 นาที เพราะความร้อนจะเป็นตัวทำลายเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำได้ดี น้ำต้มเป็นน้ำที่ใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัย
2)     การทำให้ตกตะกอน โดยนำสารส้มแกว่งเร็ว ๆ ในน้ำ ให้สารส้มกระจายไปทั่ว ประมาณ 1 นาที แล้วแกว่งช้าง ๆ ประมาณ 10 – 20 นาที จะทำให้สารต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำตกตะกอนนอนก้นได้น้ำใส แต่ไม่เหมาะสำหรับดื่ม เพราะไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค แต่สามารถนำไปใช้ชำระล้างร่างกาย และภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้
3)     การใส่คลอรีน การใส่คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม เป็นการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้คลอรีนผงครึ่งช้อนช้าต่อน้ำ 1 ตุ่ม (10 ปีบ) โดยละลายผงคลอรีนในน้ำ 1 ถ้วยก่อน คนให้สะอาด เทลงตุ่มกวนให้ผสมกันดี ทิ้งไว้อย่างน้อย 20 นาที จึงนำไปใช้
4)     การกรอง เป็นการนำวัตถุชนิดต่าง ๆ มาวางซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เช่น ทรายละเอียด ทรายหยาบ ถ่าน กรวดละเอียด กรวดหยาบ และสำลี แล้วเทน้ำลงไปให้ไหลผ่านชั้นต่าง ๆ เพื่อให้ได้น้ำที่สะอาด แต่ไม่ควรบริโภค เพราะยังไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค





5)     การกลั่น เป็นวิธีการนำน้ำมาต้มให้กลายเป็นไอ แล้วให้ไอน้ำผ่านความเย็น ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งน้ำที่ได้จะสะอาดมากที่สุด แต่สิ้นเลือกค่าใช้จ่ายมาก นิยมนำมาใช้ในการแพทย์





เมื่อคุณภาพน้ำต่ำ จะมีผลกระทบต่อคน พืช และสัตว์ ดังนี้
1)      เป็นบ่อเกิดของโรคระบาด น้ำสกปรกเต็มไปด้วยเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดของโรคในบริเวณที่มีน้ำไหลผ่าน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคบิด อหิวาต์ และไทฟอยด์ เป็นต้น
2)     ทำให้ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำ เมื่อน้ำเกิดการเน่าเสียสกปรกขึ้น เราไม่สามารถที่จะนำน้ำมาใช้ดื่ม และใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้
3)     ทำให้เกิดความเสียกายแก่การเกษตร เมื่อน้ำเกิดสกปรก หรือเน่าเสีย จะมีผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เช่น ถ้านำน้ำเน่าเสียไปรดต้นไม้ หรือให้สัตว์กิน จะทำให้ต้นไม้และสัตว์ตายได้


การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
          นักเรียนจะเห็นว่า น้ำมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตมากตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าไม่มีน้ำ สิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราจึงควรช่วยกันแก้ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้
1)      การปลูกต้นไม้ ทำให้อากาศมีความชุ่มชื้น ทำให้มีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยลดปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะรากของต้นไม้จะช่วยยึดดินไว้ไม่ให้ถูกน้ำพัดพาไปทับถมกันในแหล่งน้ำได้
2)     การใช้น้ำอย่างประหยัด เราสามารถประหยัดการใช้น้ำได้ด้วยตนเอง ดังนี้
o  หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ
o  ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ตอนโกนหนวด แปรงฟัน หรือถูสบู่
o  ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะจะใช้น้ำน้อยกว่า
o  รองน้ำซักผ้าแค่พอดีใช้ อย่าเปิดทิ้งไว้ตลอดการซัก
o  ใช้ฝักบัวรดน้ำแทนสายยางฉีดน้ำ
o  ไม่ควรใช้สายยางล้างรถ และอย่างเปิดน้ำไหลตลอดเวลา
o  ล้างรถเท่าที่จำเป็น
o  หมั่นตรวจสอบท่อน้ำในบ้านว่ามีรอยรั่วหรือไม่
o  ล้างผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะ
o  ล้างจานในอ่างล้างจาน
o  หมั่นตรวจสอบจุดรั่วซึมของชักโครก
o  ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ
o  ติดอุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก
o  ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด
o  อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือโดยเปล่าประโยชน์
o  รินน้ำให้พอดีดื่ม
3)     การเผาป่า การถางป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยไม่ควรกระทำ เพราะป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ
4)     การป้องกันมลพิษทางน้ำ เราสามารถช่วยป้องกันมลพิษทางน้ำได้ด้วยการไม่ทิ้งขยะ หรือสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ
5)     การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เราสามาระนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้าในครั้งสุดท้ายมารดต้นไม้ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ เป็นต้น
6)     ในเทศกาลลอยกระทง เราควรใช้กระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง และไม่ควรใช้กระทงที่ทำจากโฟม เพราะโฟมย่อยสลายยาก กลายเป็นขยะตกค้างในน้ำ เป็นต้น
7)     ในบริเวณที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ควรตรวจสอบว่า โรงงานเหล่านี้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ และควรมีการตรวจสอบคุณภาพในแหล่งน้ำอยู่เสมอ เพื่อจะได้ทราบว่า เกิดปัญหาน้ำเสียหรือไม่ และเกิดในช่วยใดของแหล่งน้ำ



อากาศกับสิ่งมีชีวิต
          อากาศเป็นสสารชนิดหนึ่ง มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ โลกของเรามีอากาศห่อหุ้มอยู่ เราเรียกอากาศที่อยู่รอบตัวเรา และห่อหุ้มโลกของเราว่า บรรยากาศ

ส่วนประกอบของอากาศ
          อากาศประกอบด้วย แก๊สหลายชนิด ส่วนประกอบของแก๊สที่สำคัญในอากาศโดยปริมาตร ได้แก่ 
o  ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78
o  ออกซิเจน จำนวนร้อยละ 21
o  อาร์กอน จำนวนร้อยละ 0.93
o  คาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนร้อยละ 0.03
o  แก๊สอื่น ๆ ฝุ่นละอองและไอน้ำ จำนวนร้อยละ 0.04




อากาศที่ไม่มีไอน้ำ เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0  ถึง 4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นต้น


สมบัติของอากาศ
1)      อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2)     อากาศมีน้ำหนัก
3)     อากาศต้องการที่อยู่
4)     อากาศเคลื่อนที่ได้ อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
อากาศจะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้นแตกต่างกันมากด้วย ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เราเรียกว่า พายุ ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแหล่งทวีปของโลก และความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมาก อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาก เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาว อุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อน อุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่าง ๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์
เทอร์มอมิเตอร์ มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิด มีกระเปาะเล็ก ๆ อยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว ได้แก่ แอลกอฮอล์ หรือปรอท ซึ่งมีสมบัติขยายตัวและหดตัวได้รวดเร็ว เมื่ออากาศร้อน ของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่าอุณหภูมิต่ำ




วิธีการใช้เทอร์มอมิเตอร์
1)      ควรจับเทอร์มอมิเตอร์ค่อนไปทางปลายของเทอร์มอมิเตอร์ ห้ามจับตรงกระเปาะ
2)     หันตัวเลขเข้าหาตัวเพื่อให้อ่านค่าได้ง่าย
3)     เมื่อวัดสิ่งของใด ต้องการก้านเทอร์มอมิเตอร์ตั้งในแนวดิ่งเสมอ และอยู่ในระดับสายตา เพื่ออ่านค่าได้ถูกต้องและแม่นยำ
4)     ให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่จะวัดเท่านั้น
5)     ไม่ควรนำเทอร์มอมิเตอร์คนสารต่าง ๆ และห้ามนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิของเปลวไฟ เพราะจะทำให้เทอร์โมมิเตอร์แตกได้ และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้



ประโยชน์ของอากาศ
1)      อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการหายใจของสิ่งมีชีวิต  ถ้าขาดอากาศสิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
2)     อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิ ไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกของเรายังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้ามาสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
3)     ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต  ขยะอวกาศ โดยอุกกาบาต และขยะอวกาศจากนอกโลก เมื่อผ่านเข้าสู่บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ก็จะเกิดการเสียดสีกับอากาศลุกไหม้เป็นไฟจนเป็นผุยผง ไม่สามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้
4)     ทำให้เกิดเมฆฝน และเกิดฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อเกษตรกรรมของประเทศ
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของอากาศ คือ ใช้หายใจ ถ้าไม่มีอากาศ สิ่งมีชิตก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ปัจจุบัน เรากำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับอากาศเสีย ซึ่งสาเหตุของอากาศเสียเป็นเพราะอะไร นักเรียนทราบหรือไม่


สาเหตุของการเกิดอากาศเสีย หรือเกิดมลพิษทางอากาศ มีดังนี้
1)      การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟปะทุ ทำให้เกิดควันไฟ ฝุ่นละออง และแก๊สต่าง ๆ การเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ ทำให้เกิดแก๊สต่าง ๆ ปะปนในอากาศ
2)     การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และควันจากท่อไอเสีย จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ออกมา
3)     โรงงานอุตสาหกรรมจะปล่อยควันของสารพิษ ฝุ่นละออง แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ และแก๊สอื่น ๆ อีกหลายชนิดออกมา
4)     โรงไฟฟ้า ใช้เชื้อเพลิงไปเผาไหม้ เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ลิกไนต์ หรือเชื้อเพลิง อื่น ๆ ไปผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย และเขม่าควัน
5)     การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในบ้าน เช่น การเผาฝืน ถ่าน แก๊สหุงต้ม ล้วนทำให้เกิดแก๊สคาร์บอรมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และเขม่าควัน
6)     การเผาขยะ และสิ่งปฏิกูลทำให้เกิดแก๊สไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
7)     แหล่งน้ำเสีย ทำให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนซันไฟด์ และแก๊สไฮโดรคาร์บอน
8)     การระเหยของสารเคมีต่าง ๆ เช่น น้ำมัน กรด สี

ผลกระทบจากสิ่งเจือปนในอากาศ
          ผลกระทำจากสิ่งเจือปนในอากาศทำให้เกิดความเสียกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ ทำลายพืช ทำให้วัสดุต่าง ๆ เสียหาย เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ตามที่นักเรียนได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่นำมากล่าวถึงพอเป็นสรุปอีกครั้ง ดังนี้
1)      เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
2)     เป็นอันตรายต่อพืช
3)     เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
4)     ทำความเสียหายต่อวัสดุต่าง ๆ
5)     ทำให้อุณหภูมิของอากาศร้อนขึ้น
6)     ผลกระทบต่อการมองเห็น


แนวทางในการป้องกันมลพิษทางอากาศ
1)      ช่วยกันปลูกและดูแลต้นไม้ ซึ่งจะช่วยดูดแก๊สคาร์บอรไดออกไซด์ และคายยแก๊สออกซิเจน
2)     ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟม และพลาสติก นำผลิตภัณฑ์จากโฟม และพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เพราะการทำลายวัตถุเหล่านี้โดยการเผา จะเป็นการทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
3)     ไม่เผาขยะที่ทำให้เกิดควันพิษ แต่ใช้วีกำจัดขยะโดยการฟังดิน
4)     ช่วยกันจัดระเบียบของบ้านเมือง เช่น ปรับปรุงชุมชนแออัด กวดขันรถยนต์ที่ปล่อยควันเสีย ควบคุมโรงงานที่ปล่อยควันและน้ำเสีย และช่วยกันกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี




** สรุปสาระสำคัญ
1)      โลกของเรามีอากาศและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช
2)     น้ำมีได้ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
3)     น้ำจะไหลเคลื่อนที่เพื่อรักษาระดับผิวน้ำให้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกันอย่างไร
4)     แรงดันของน้ำ คือแรงของน้ำที่กดลงบนพื้นที่บริเวณหนึ่ง ๆ
5)     น้ำที่ระดับลึกกว่าจะมีแรงดันมากกว่าน้ำที่ระดับตื้นกว่า
6)     น้ำที่สะอาด จะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส  สามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งเราเรียกว่า เป็นน้ำที่มีคุณภาพ
7)     การปรับปรุงคุณภาพของน้ำกระทำได้โดยการต้ม การทำให้ตกตะกอน การใส่คลอรีน การกรอง และการกลั่น
8)     น้ำมีการหมุนเวียนตามธรรมชาติตลอดเวลา เราจึงควนสงวนและรักษาน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สำคัญเราควรใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ตลอดไป
9)     อากาศเป็นสสารชนิดหนึ่ง มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องที่ที่อยู่และสัมผัสได้
10)  อากาศประกอบด้วยแก๊สที่สำคัญในอากาศโดยปริมาตรมีไนโตรเจน ร้อยละ 78 ออกซิเจน ร้อยละ 21 อาร์กอน ร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03 แก๊สอื่น ๆ ฝุ่นละออง และไอน้ำจำนวนร้อยละ 0.04
11)   ไอ้นำเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นต้น
12)  การเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณความหนาแน่นสูงไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า ทำให้เกิดลมหรือพายุ
13) อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ เทอร์มอมิเตอร์
14)  ประโยชน์ของอากาศ ให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก และทำให้เกิดฝน
15) สาเหตุของการเกิดอากาศเสีย เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การเผาไหวเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม ในโรงไฟฟ้าและในบ้าน การเผาขยะและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งน้ำเสีย และการระเหยของสารเคมีต่าง ๆ
16) ผลกระทบจากสิ่งเจือปนในอากาศ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ ทำลายพืช ทำให้วัสดุต่าง ๆ เสียหายเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

17)  การป้องกันมลพิษทางอากาศ ช่วยกันปลูกและดูแลต้นไม้ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟมและพลาสติก ควบคุมโรงงานที่ปล่อยควัน และน้ำเสีย กวดขันรถยนต์ที่ปล่อยควันเสีย และช่วยกันกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี





Download


Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...