วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ วิทยาศาสตร์ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 แรงและการเคลื่อนที่ (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 แรงและการเคลื่อนที่ (เนื้อหา)


Download


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 แรงและการเคลื่อนที่



          ในชีวิตประจำวัน นักเรียนจะพบเห็นการเคลื่อนที่ของสิ่งของต่าง ๆ มากมาย เมื่อมีแรงไปกระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ จากหยุดนิ่งเป็นการเคลื่อน หรือจากการเคลื่อนที่ เป็นหยุดนิ่ง การเปลี่ยนตำแหน่ง หรือ การเคลื่อนย้ายวัตถุตามเวลาที่ผ่านไป เรียกว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุ
ความหมายของแรง
          นักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่า เมื่อนักเรียนตัดหรือดึงประตู หน้าต่าง หิ้วกระเป๋า ยกหนังสือ ลากโต๊ะ เข็ญรถยนต์ ทำไมประตูหน้าต่างจึงเปิดปิดได้ ทำไมกระเป๋าและหนังสือจึงถูกยกขึ้น ทำไมโต๊ะและรถยนต์จึงเคลื่อนที่ได้ สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น เราเรียกว่า แรง




          การเล่นชักเย่อก็ดี หรือการงัดข้อก็ดี แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะออกแรงก็ตาม แต่ยังไม่มีฝ่ายชนะ การเคลื่อนที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีแรงเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนที่จะมายังทิศทางที่มีแรงเพิ่มมากขึ้น
          จากรูปที่แสดงการชักเย่อระหว่างฝ่ายดำ และฝ่ายขาว นักเรียนจะเห็นว่า
          หากฝ่ายขาวเป็นฝ่ายชนะในการเล่นชักเย่อ แสดงว่าฝ่ายขาวออกแรงมากกว่าฝ่ายดำ ความแตกต่างของแรงฝ่ายขาว และฝ่ายดำ เรียกว่า แรงลัพธ์



          ผลของแรงลัพธ์ ที่มีค่าเป็นศูนย์ ทำให้สิ่งต่าง ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ เช่น เด็ก 2 คน ออกแรงดึงวัตถุคนละข้างด้วยแรงที่เท่า ๆ กัน



แรงดึงและแรงผลัก
          การดึงและผลัก เป็นผลการกระทำจากแรง
แรงดึง
          เป็นการออกแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่เข้าหาตัวเรา เช่น เด็กดึงกล่องมา นักเรียนดึงผ้าลงจากราวตากผ้า พี่ใช้เท้าเขี่ยบอลเข้ามา คนเล่นชักเย่อ เด็กลากรถ พี่ดึงโบจากผม ผู้ใหญ่ดึงแขนเด็ก เป็นต้น
แรงผลัก
          เป็นการออกแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา เช่น ผลักหน้าต่างให้เปิดออก เตะฟุตบอล เข็นรถ ผลักรถเด็กเล่น ถูพื้นไปข้างหน้า ตีลูกเทนนิส ตีลูกวอลเลย์บอล เป็นต้น
          การใช้แรงผลักสิ่งที่นิ่งอยู่กับที่ กับสิ่งที่กำลังเคลื่อนที่ก็ต่างกัน เช่น เมื่อเตะฟุตบอลที่กำลังกลิ้งไปข้างหน้าเราอยู่แล้ว เราเตะต่อก็จะใช้แรงน้อยกว่าเตะบอลที่นิ่งอยู่กับที่
          ดังนั้น การใช้แรงผลักกัน กับวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางเดียวกับเราจะน้อยกว่าใช้แรงกับวัตถุที่เคลื่อนที่สวนทางกับเรา หรือวิ่งมาหาเรา
แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
          นักเรียนทราบแล้วว่า สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ เราเรียกว่า แรง
          ผลของการออกแรงไม่ใช่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เท่านั้น แรงยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุด้วย เช่น กระดาษที่ถูกบีบ ขยำ จะยับยู่ยี่ ไม่เป็นแผ่นเรียบ ๆ อีก เมื่อเราออกแรงบีบหรือปั้นดินน้ำมัน ปั้นดินเหนียวให้มีรูปร่างตามต้องการ จะเห็นว่า ดินมีรูปร่างเปลี่ยนไป และรูปร่างจะไม่กลับคืนเหมือนเดิม วัตถุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำแล้วรูปร่างของวัตถุจะเลี่ยนแปลงชั่วคราว และจะกลับคืนเหมือนเดิมได้อีก เช่น ยางรัดของ สปริง ฟองน้ำ ลูกโป่ง เป็นต้น

** สรุปสาระสำคัญ
  1)      การเปลี่ยนตำแหน่ง หรือการเคลื่อนย้ายวัตถุตามเวลาที่ผ่านไป เรียกว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุ
  2)     แรงคือ สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่
  3)     แรงลัพธ์ คือ ความแตกต่างของแรงระหว่างแรงตรงข้าม ถ้าแรงลัพธ์มีค่าเท่ากับศูนย์ วัตถุจะไม่เคลื่อนที่
  4)     แรงดึง คือแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามา แรงผลักคือแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนออกไป
  5)     แรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ เกิดการเคลื่อนที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
  6)     แรงผลักกับวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางเดียวกัน จะใช้แรงน้อยกว่าแรงที่วัตถุเคลื่อนที่สวนทาง หรือวิ่งเข้าหา









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...