Download
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 พลังงาน
ความสามารถในการทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ เรียกว่า พลังงาน ดังนั้น สิ่งที่มีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ สามารถเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด ยกสิ่งของ หรือ สามารถทำงานประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้ จึงมีพลังงาน พลังงานที่อยู่ในมนุษย์และสัตว์ เกิดจากพลังงานของอาหารที่เรารับประทานเข้าไป
ประเภทของพลังงาน
แหล่งกำเนิดพลังงาน มี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติ กับพลังงานประดิษฐ์
1) พลังงานจากธรรมชาติ
พลังงานจากธรรมชาติ เป็นพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำตก พลังงานจากลม พลังงานจากสัตว์ เป็นต้น
2) พลังงานประดิษฐ์
พลังงานประดิษฐ์ เป็นพลังงานที่มนุษย์แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือน พลังงานไฟฟ้าเคมีในแบตเตอรี่ พลังงานกล ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากวัตถุที่อยู่ในสภาพต่าง ๆ เช่น วัตถุหมุน วัตถุเคลื่อนที่
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า คือ พลังงานที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านของเราทำงานได้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต และเพื่อประโยชน์ในการใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น ให้แสงสว่าง ให้ความร้อนในการหุงต้มอาหาร ความบันเทิง ความอบอุ่น และความเย็น เป็นต้น
ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือไฟฟ้าจากเซลล์ไฟฟ้า เป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี และเป็นพลังงานที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งใช้งานได้เหมือนไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน
นักเรียนจะเห็นว่า ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ทำให้ของเล่นของใช้ทำงานได้ เมื่อต่อกับหลอนไฟฟ้าให้แสงสว่าง แสดงว่าไฟฟ้าเป็นพลังงานเช่นเดียวกับไฟฟ้าตามบ้าน แต่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ได้สะดวก มีรูปร่างหลายแบบ และหลายขนาด เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ของนาฬิกาข้อมือ เป็นต้น
ส่วนประกอบของถ่านไฟฉาย
ถ่านไฟฉายมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1) ส่วนภายนอก ประกอบด้วย สังกะสี หรือ พลาสติกหุ้มส่วนภายใน
2) ส่วนภายใน ประกอบด้วย แท่งถ่าน ผงถ่าน และ สารเคมีที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อต่อถ่านไฟฉายให้ครบวงจร จะเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นให้กระแสไฟฟ้า
เมื่อต่อหลอดไฟฟ้ากับแบตเตอรี่ดังแสดงในรูป
การต่ออุปกรณ์ตามที่แสดงในรูป เรียกว่า วงจรไฟฟ้า นักเรียนจะเห็นว่า วงจรไฟฟ้ามีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ลวดตัวนำ เครื่องใช้ไฟฟ้า
การต่อวงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้า สามารถเคลื่อนที่ได้ครบวงจน จากขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านลวดตัวนำเครื่องใช้ไฟฟ้าและกลับเข้าสู่อีกขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ เรียกว่า วงจรไฟฟ้าปิด
ถ่านไฟฉายแต่ละก้อน จะมีขั้วอยู่ 2 ขั้ว โดยส่วนบนของถ่านไฟฉาย จะมีลักษณะนูนคล้ายปุ่ม เราเรียกว่า ขั้วบวก ส่วนด้านที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วบวก จะเรียก ขั้วลบ
เมื่อนำสายไฟและหลอดไฟไปต่อเข้ากับถ่านไฟฉาย กระแสไฟฟ้าจะออกจากขั้วบวกของถ่านไฟฉายไปตามหลอดไฟและสายไฟ และผ่านกลับมายังถ่านไฟฉายตรงขั้วลบ ทำให้หลอดไฟสว่างได้
แบตเตอรี่ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด มีอยู่มากมายหลายชนิด และมีหลายลักษณะตามที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้ว การเลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบธรรมดา เป็นดังนี้
- ถ่านไฟฉายสีแดง ใช้กับนาฬิกาปลุก รีโมท ของเล่น และวิทยุ
- ถ่านไฟฉายสีเขียว ใช้กับไฟฉาย นาฬิกา และวิทยุขนาดเล็ก
- ถ่านไฟฉายสีดำ ใช้กับกล้อง เกมกด และวิทยุพกพา
การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น
เมื่อสำรวจภายในบ้านของเรา จะพบของเล่นและของใช้ไฟฟ้าในบ้านหลายชนิด ของเล่นและเครื่องช้าเหล่านี้ได้รับพลังงานไฟฟ้าที่ส่งมาตามบ้านเหมือนกัน แต่ทำงานในลักษณะต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน แสดงว่า พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นได้ เช่น
- พลังงานเสียง เมื่อเสียบปลั๊กวิทยุ และเปิดวิทยุ วิทยุทำงานได้โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง
- พลังงานแสง เมื่อเสียบปลั๊กโคมไฟ และเปิดสวิตซ์ โคมไฟจะให้แสงสว่าง และเมื่อเอามือไปอังใกล้ ๆ กับหลอดไฟจะรู้สึกร้อน แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสงและพลังงานความร้อนได้
- พลังงานความร้อน เช่นเดียวกับเมื่อเสียบปลั๊กเตารีด กาต้มน้ำ และหม้อหุงข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวจะให้ความร้อน แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนได้
- พลังงานกล คือ พลังงานที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่อยู่ในสภาพต่าง ๆ เช่น วัตถุหมุน วัตถุเคลื่อนที่ แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าสามารถทำให้ขดลวดในมอเตอร์หมุนได้
โดยสรุป นักเรียนจะเห็นว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ ได้ เช่น พลังงานเสียง พลังงานแสง พลังงานความร้อน พลังงานกล ซึ่งพลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของเรา อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าก็มีโทษ ถ้าเราใช้ไม่ระมัดระวัง
การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จึงอาจเกิดการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า และเกิดอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าขึ้นได้ หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวัง การใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยทำได้ดังนี้
1) การใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านเรือน ในสำนักงาน ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ หลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
2) ไม่ควรติดตั้งเค้ารับต่ำเกินไป เพราะอาจะเป็นอันตรายต่อเด็ก เด็กอาจใช้นิ้วแหย่ปลั๊กไฟ และถูกไฟฟ้าดูดได้
3) ไม่ควรใช้มือขณะที่เปียกเปิดสวิตซ์ หรือ เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะอาจ
4) ไม่ใช่สิ่งต่าง ๆ แหย่เข้าไปในเต้ารับ เพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดได้
5) ไม่ควรซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง โดยไม่มีความรู้เพราะอาจได้รับอันตรายได้
6) ไม่จับปลาโดยการใช้ไฟฟ้าช็อตปลา เพราะจะถูกไฟฟ้าดูดได้
7) ไม่ควรเล่นว่าวใกล้สายไฟ เพราะจะถูกไฟฟ้าดูดได้
นอกจากการใช้ไฟฟ้าอย่างระมัดระวังแล้วเราควรช่วยกันใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด ดังนี้
1) ควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอมหรือหลอดตะเกียบ ซึ่งให้ความสว่างมาก แต่ใช้ไฟฟ้าน้อย
2) ไม่ควรปิด หรือเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
3) เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานประหยัดไฟเบอร์ 5
4) ควรรีดผ้าครั้งละหลาย ๆ ชิ้น
5) ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังจากที่เราใช้งานเสร็จแล้ว
6) หมั่นตรวจสอบสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
**สรุปสาระสำคัญ
1) ความสามารถในการทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ เรียกว่า พลังงาน
2) แหล่งกำเนิดของพลังงานมี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติกับพลังงานประดิษฐ์
3) พลังงานจากธรรมชาติเป็นพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ
4) พลังงานประดิษฐ์เป็นพลังงานที่มนุษย์แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือน พลังงานไฟฟ้าเคมีในแบตเตอรี่ พลังงานกล
5) แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ทำให้ของเล่นของใช้ทำงานได้ ไฟฟ้าจึงเป็นพลังงาน
6) แสง เสียง ความร้อนเป็นพลังงาน พลังงานกลเป็นพลังงานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่
7) ของเล่นของใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปต่าง ๆ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น แสง เสียง ความร้อน พลังงานกล เป็นต้น
8) ไฟฟ้ามีประโยชน์มาก ทำให้ของเล่น และของใช้ทำงานได้ ของเล่นของใช้ที่ใช้ไฟฟ้าที่มาจากสายไฟตามบ้านมีอันตรายต้องใช้อย่างระมัดระวัง และใช้ให้ถูกวิธีจึงจะปลอดภัยและประหยัด
Download
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น