วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ วิทยาศาสตร์ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ของเล่น และของใช้ (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ของเล่น และของใช้ (เนื้อหา)



Download


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ของเล่น และของใช้



          ในชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องใช้ของใช้ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานให้สะดวกสบาย และมีสุขภาพดี นอกจานั้น การมีของเล่นไม่เป็นอันตรายทำให้สนุกสนานและเพลิดเพลิน

ของเล่น
          ของเล่น เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเกิดจินตนาการ มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยฝึกสมอง ฝึกการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ เช่น ตุ๊กตา หุ่นยนต์ รถ เรือ ของเล่นเกมต่าง ๆ เป็นต้น

ของใช้
          ของใช้ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีความสะดวกสบาย และมีสุขภาพดี เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน แชมพู สบู่ สารซักล้าง เสื้อผ้า ภาชนะครัวเรือน หนังสือ ดินสิ ขวด แก้วน้ำ เป็นต้น

วัสดุ
          สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก ทองแดง ผ้า พลาสติก ยาง กระดาษ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า วัตถุ วัตถุบางชนิดหนัก เช่น หิน วัตถุบางชนิดเบา เช่น กระดาษ บางชนิดเปราะแตกง่าย เช่น แก้ว บางชนิดเหนียว และแข็ง เช่น เหล็ก


          วัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์มีทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น
1)      วัสดุธรรมชาติ
วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้ทำของเล่น และของใช้ ได้แก่

-        ไม้
ไม้โดยทั่วไป จะมีความแข็งแรง และทนทาน จึงนิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ไม้บล็อก ตุ๊กตาไม้ เยื่อไม้เรานำมาทำกระดาษ เป็นต้น


         
-        โลหะ
โลหะโดยทั่วไปเป็นของแข็ง มีความมันวาว แข็งแรงทนทานงอได้โดยไม่หัก จึงนิยมนำมาทำของเล่นและของใช้ เช่น ชิงช้า ของเล่นขนาดใหญ่ เครื่องครัวต่าง ๆ ตะปู สายไฟ เป็นต้น



-        หินและดิน
หินและดิน โดยทั่วไป เรานำดินเหนียวมาปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผา กระถางต้นไม้ จานชามต่าง ๆ และยังนำหิน ดิน มาก่อสร้างบ้าน สร้างถนน และสะพาน เป็นต้น



2)     วัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น
วัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่นำมาใช้ทำของเล่นและของใช้ ได้แก่
-        ผ้า
ผ้า ได้มาจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ลินิน หรือจากที่คนเราสังเคราะห์ขึ้น เช่น ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้ามีลักษณะนุ่มเหนียว ตัดเย็บเป็นรูปต่าง ๆ นิยมนำมาทำทั้งของเล่นและของใช้ เช่น ตุ๊กตา เครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า ถุงเท้า เสื้อผ้า หมอน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น


-        แก้ว
แก้วทำมาจากทราย มีลักษณะแข็ง และแสงส่องผ่านได้ เปราะ แตกหักง่าย นิยมนำมาทำของใช้ ไม่นิยมนำมาทำของเล่น เช่น ขวด อุปกรณ์ในครัว แก้วน้ำ จาน ชาม แว่นตา แวนขยาย เป็นต้น

-        ยาง
ยางมีความยืดหยุ่น ยางใช้ทำลูกโป่ง ยางลบ ยางรถยนต์ พื้นรองเท้า เป็นต้น

-        พลาสติก
พลาสติกเนสารสังเคราะห์ทางเคมี น้ำซึมผ่านไม่ได้ ไม่แตกหักง่าย บางชนิดเหนียว บางชนิดแข็ง นิยมนำมาทำทั้งของเล่นและของใช้ เช่น ตุ๊กตา ปากกา ไม้บรรทัด ถุงใส่ของ โทรศัพท์ สายยาง ด้ามกระทะ เสื้อกันฝน เป็นต้น



-        กระดาษ
กระดาษ ทำมาจากเยื่อไม้ มีลักษณะบาง ขาดง่าย นิยมนำมาทำทั้งของเล่นและของใช้ เช่น ตุ๊กตากระดาษ สมุด หนังสือ ปฏิทิน เป็นต้น


การดูแลรักษาของเล่นและของใช้
          วัสดุที่เรานำมาทำเป็นของเล่นของใช้ ส่วนใหญ่จะมีความทนทานต่อการใช้งาน แต่เมื่อเราใช้ไปนาน ๆ วัสดุหรือสิ่งของเหล่านั้นอาจจะเกิดการชำรุด อาจมีการแตกหักเสียหาย
          นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาของเล่นของใช้ตนเองอย่างไรบ้าง
          ของเล่นของใช้ที่ซื้อมาแล้ว ต้องรู้จักใช้ รู้จักเก็บ และรู้จักรักษา ดังนี้
          รู้จักใช้ ของเล่นของใช้ ต้องรู้จักใช้ รู้จักเล่นอย่างถนอม ไม่ทิ้งขว้าง ใช้หรือเล่นอย่างระมัดระวัง เมื่อเลิกใช้แล้ว ต้องทำความสะอาด และเก็บให้เรียบร้อย
          รู้จักซ่อมแซม ของเล่นของใช้เมื่อชำรุดเสียหาย ต้องรู้จักซ่อมแซม ไม่ควรทิ้งแล้วซื้อใหม่ และหมั่นตรวจดูของเล่นของใช้อยู่เสมอ

เกณฑ์ในการจัดกลุ่มของเล่นและของใช้
          เราสามารถจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ เช่น ของเล่นของใช้ได้หลายกลุ่มตามลักษณะที่มองเห็น เช่น แบ่งตามขนาดใหญ่หรือเล็ก แบ่งตามสี แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำ เช่น ทำด้วยพลาสติก ทำด้วยเงิน ทำด้วยไม้ เป็นต้น ดังนั้น การแบ่งตามลักษณะหรือสมบัติที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกัน จึงนำมาเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มของเล่น และของใช้ได้ดังนี้
-        สี วัตถุบางอย่างมีสีเดียว เช่น สีขาว ดำ แดง บางชนิดมีหลายสีปนกัน
-        รูปร่าง วัตถุบางอย่างมีรูปร่างกลม บ้างเป็นสี่เหลี่ยม บ้างเป็นสามเหลี่ยม บ้างแบน บางอย่างสั้น บ้างก็ยาว บ้างก็มีรูปร่างไม่แน่นอน
-        ขนาด วัตถุบางอย่างมีขนาดใหญ่ เช่น โต๊ะ รถ เรือ เครื่องบิน บ้าน โรงเรียน ฯลฯ วัตถุบางอย่างมีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น หนังสือ ดินสอ กล่อง แก้ว ตุ๊กตา กระเป๋า ฯลฯ วัตถุบางอย่างมีขนาดเล็ก และเล็กมาก เช่น กรุดุม เฟือง ยางลบ เมล็ดพืช ตะปู เข็ม
-        ความหนักเบา วัตถุบางชนิดมีน้ำหนักมาก เช่น ครกหิน โต๊ะหิน รถ เรือ บางอย่าง มีน้ำหนักปานกลาง เช่น กระเป๋า หนังสือ รองเท้า หม้อ แก้ว หมอน เป็นต้น บางอย่างมีน้ำหนักเบา เช่น นุ่น ฝ้าย เข็ม ถุงพลาสติก แผ่นกระดาษ ฯลฯ
-        ลักษณะพื้นผิว วัตถุบางอย่างมีพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก กระดาษ ปกพลาสติก ผ้ายาง ผ้าปูโต๊ะ พื้นห้อง ฯลฯ บางอย่างมีผิวไม่เรียบ เช่น กระดาษทราย ถนนที่มีกรวดหิน ขรุขระ น้อยหน่า ขนุน เป็นต้น
-        ความอ่อน – แข็ง วัตถุบางอย่างมีความอ่อนนุ่ม เมื่อสัมผัสด้วยมือ เช่น นุ่น สำลี ไหมพรม ผ้าขนหนู เสื้อขนสัตว์ ฯลฯ บางอย่างมีความแข็ง ไม่นุ่มมือ ได้แก่ กระดาน หิน อิฐ ทราย สิ่งที่ทำด้วยโลหะ สิ่งที่ทำด้วยแก้ว ฯลฯ
-        กลิ่น วัตถุบางอย่างมีกลิ่นหอม เช่น สบู่ แป้ง น้ำหอม ดอกไม้ ผลไม้สุก วัตถุบางอย่างไม่มีกลิ่น เช่น เครื่องครัวเรือน โต๊ะ ม้านั่ง ฯลฯ บางอย่างมีกลิ่นเหม็น เช่น อาหารเน่าบูด ถังขยะที่มีของเน่าเสีย เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ
          วัสดุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ หรืออาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปชั่วคราว ขณะออกแรงกระทำ และบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวร เช่น การกดดินน้ำมน รูปร่างของดินน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก่อนออกแรงกระทำ เป็นต้น บางครั้ง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางครั้งก็เกิดอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ตัวอย่างเช่น ดึงยางยืด ปล่อยลมลูกฟุตบอล ใส่น้ำในขวดรูปต่าง ๆ กัน พับกระดาษ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ส่วนการเปลี่ยนแปลงขนาด เช่น การเป่าลูกโป่ง เป็นต้น




** สรุปสาระสำคัญ
   1)      ของเล่นและของใช้ต่าง ๆ รอบตัวเรา ทำมาจากวัสดุที่อาจเหมือนกัน หรือแตกต่างกัน
   2)     วัสดุบางอย่างอาจมีส่วนประกอบหลายอย่าง ทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่น ไม้ โลหะ ดินและหิน พลาสติก แก้ว ผ้า กระดาษ บางอย่างเหนียว อ่อนนุ่ม บางอย่างเปราะบาง แตกหักง่าย
   3)     วัสดุแต่ละชนิด ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
   4)     วัสดุเมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจชำรุดเสียหาย จึงต้องรู้จักวิธีรักษา และรู้จักวิธีการใช้ นอกจากนั้น ควรรู้จักประดิษฐ์ของเล่นและของใช้เองจากวัสดุเหลือใช้








































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...