วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา วิทยาศาสตร์ - ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา วิทยาศาสตร์ - ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์



Download - เนื้อหา






ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์



ดวงอาทิตย์
          ลักษณะทั่วไปของดวงอาทิตย์
          ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง มีอายุประมาณ 5 พันล้านปี อยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 149.6 ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลกประมาร 109 เท่า อุณหภูมิพื้นที่ผิวของดวงอาทิตย์สูง 6,000 เคลวิน หรือ 55,727 องศาเซลเซียส มีแรงดึงดูดที่พื้นผิวเป็น 28 เท่า ของแรงดึงดูดที่พื้นผิวโลก ทำให้เกิดระบบสุริยะ โดยมีดาวเคราะห์ 8 ดวง ดังจันทร์ บริวาร ดาวเคราะห์รวมกันกว่า 60 ดวง ดาวเคราะห์น้อยหลายหมื่นดวง และดาวหางจำนวนมาก

          แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
          พลังงานของดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิริริยาฟิวชัน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในใจกลางดวงอาทิตย์ โดยรวม ไฮโดรเจน 2 อะตอมไปเป็น 1 อะตอมของฮีเลียม ดวงอาทิตย์ให้พลังงานถึงสี่แสนล้านล้านกิโลวัตต์ โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ส่วนน้อยประมาณ 1:2,200 ล้าน แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศ

          การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
          ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลาประมาณหนึ่งเดือน และมีทิศทางตามการหมุนรอบตัวของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งดาวเคราะห์ต่าง ๆ นั้นโคจรไปรอบดวงอาทิตย์
          ในแต่ละวัน เราจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และปรากฏเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้า จนตกลับของฟ้าทางทิศตะวันตกในตอนเย็น เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การขึ้นตกของดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ในขฯที่โลกหันข้างหนึ่งไปหาดวงอาทิตย์ ส่วนที่ถูกแสงก็กลายเป็นกลางวัน อีกส่วนที่ยังไม่ถูกแสงก็กลายเป็นกลางคืน ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้น กลางวันและกลางคืนจะมีเวลาเท่ากัน คอ 12 ชั่วโมง แต่เป็นเพราะว่าแกนของโลกเอียง (โลกหมุนรอบตัวเอง จะต้องหมุนรอบแกนสมมติที่ผ่านขั้วโลก เหนือ และขั้วโลกใต้ และจุดศูนย์กลางของโลก แกนสมมติที่โลกหมุนรอบ เรียกสั้น ๆ ว่า แกนโลก) ดังนั้น วันที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือ วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเหนือ เวลากลางวันในฤดูร้อนจะยาวนานมาก ในบริเวณขั้วโลกจะมีเวลากลางวันตลอด 24 ชั่วโมงในฤดูร้อน

          กำหนดทิศ
          การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และตกในทิศตะวันตกในตอนเย็น จึงสามารถกำหนดทิศได้โดยสังเกตจากการขึ้น และการตกของดวงอาทิตย์ โดยให้ด้านที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นทิศตะวันออก และด้านที่เห็นดวงอาทิตย์ตก เป็นทิศตะวันตก เมื่อใช้ทิศตะวันออกเป็นหลัก โดยให้ด้านขวามืออยู่ทางทิศตะวันออก ด้านซ้ายมืออยู่ทางทิศตะวันตก ด้านหน้าจะเป็นทิศเหนือ และด้านหลังจะเป็นทิศใต้

          ดวงจันทร์
          ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก อยู่ห่างออกไป 380,000 กิโลเมตร มีน้ำหนัก 1/8 เท่า ของโลก มีปริมาตร 1/50 และมีแรงดึงดูดเท่า 1/6 ของโลก  เนื่องจากดวงจันทร์จะหมุนและโคจรสัมพัน์กับโลกในเวลาพอดี จึงทำให้เราได้เห็นดวงจันทร์เพียงครึ่งเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้คนบนโลกเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างกัน คือ ณ ตำแหน่งที่ 1 จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์หันด้านมืดมาทางโลก เมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ 2 จะสว่างเพิ่มขึ้น เมื่ออยู่ตำแหน่งที่ 3 จะสว่างครึ่งดวง มืดครึ่งดวง เมื่ออยู่ตำแหน่งที่ 4 ด้านสว่างจะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งดวงจันทร์มาอยู่ ณ ตำแหน่งที่ 5 ด้านที่หันเข้าหาโลกจะเป็นด้านสว่างทั้งหมด จึงเห็นดวงจันทร์เป็นวงกลม และเมื่อโคจรต่อไปก็จะค่อย ๆ สว่างลดลงจนกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลา 1 เดือน ด้านที่สว่างของดวงจันทร์ คือ ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์
          เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเป็นวันข้างแรม 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ คือ เป็นคืนเดือนมืด ดวงจันทร์หันด้านที่ไม่ได้แสงจากดวงอาทิตย์มายังโลก และเมื่อเวลาผ่านไป ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปเรื่อย ๆ โดยที่คนบนโลกจะเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 15 วัน ดวงจันทร์จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง และ ณ ตำแหน่งนี้ของดวงจันทร์ คนบนโลกจะเห็นว่า ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง เนื่องจากคนบนโลกเห็นด้านที่ดวงจันทร์รับแสงจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด ซึ่งจะตรงกับวันข้างขึ้น 15 ค่ำ



          การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์
1.       คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนตำแหน่งจากท้องฟ้าซึกตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เราเรียกว่า การเคลื่อนที่ปรากฏประจำวัน แต่การเคลื่อนที่ที่แท้จริงนั้น ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก เรียกว่า การเคลื่อนที่แท้จริง
2.      ดวงจันทร์เคลื่อนที่รอบโลกเป็นวงรี จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลา 24 ชั่วโมง ดวงจันทร์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบใช้เวลา 29.5 วัน หรือเวลาประมาณ 30 วัน จึงทำให้ดวงจันทร์ปรากฏให้เห็น ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุก ๆ วัน วันละประมาณ 50 นาที
3.      วันข้างขึ้น ดวงจันทร์จะขึ้นในเวลากลางวัน และตกในเวลากลางคืน ส่วนวันข้างแรม ดวงจันทร์ขึ้นในเวลากลางคืน และตกในเวลากลางวัน

4.      การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ และการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ใช้เวลาเท่ากัน ดังนั้น จึงทำให้ระยะเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกเท่ากับระยะเวลาที่หมุนรอบตัวเอง ระยะเวลานี้ เมื่อเทียบต่อดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลังเท่ากับ 1 เดือนทางดาราคติ ซึ่งเทียบต่อดวงอาทิตย์เป็นเวลา 27 1/3 วัน
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...