วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 1 ศาสนา ศึลธรรม จริยธรรม (พระพุทธศาสนา)

เตรียมตัวสอบ O-Net - แนวข้อสอบ O-Net - ประถมต้น (แนวข้อสอบ O-Net ป.3) - เนื้อหาวิชา สังคมศึกษา - สาระที่ 1 ศาสนา ศึลธรรม จริยธรรม (พระพุทธศาสนา)

Download - เนื้อหา


สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม



พุทธประวัติ

          บำเพ็ญเพียร
          หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชมาเป็นเวลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวทรงเพียรพยายามหาหนทางพ้นทุกข์ด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย รวมถึงการบำเพ็ญทุกรกริยา หรือการทรมานร่างกาย ทรงอดพระกระยาหาร จนร่างกายซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง แต่เมื่อทรงได้ยินเทวดาที่นิมิตรกายมาดีดพิณ 3 สาย ให้พระองค์ได้ฟัง ดังนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ จึงทรงหันมาบำเพ็ญภาวนาด้วยการนั่งสมาธิแทนการทรมานร่างกาย เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จในรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ก่อนพุทธศักราช 45 ปี สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐหรืออริยสัจ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่
1)      ทุกข์ หมายถึง สิ่งที่ทนอยู่ได้ยาก
2)     สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3)     นิโรธ หมายถึง การดับทุกข์
4)      มรรค หมายถึง หนทางแห่งการพ้นทุกข์

ปรินิพพาน
ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนผู้คนยอมรัยศรัทธา และหันมาปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา ยกเลิกการปฏิบัติตนอันไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่ตนเองและผู้อื่น รวมทั้งกษัตริย์แคว้นต่าง ๆ ก็ให้การยอมรับ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ครั้นเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา พระองค์จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ

 หลักธรรมนำชีวิต
          โอวาท 3
          โอวาท ถือเป็นหลักธรรมที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา หลักโอวาทมี 3 ประการ ได้แก่
-        ละเว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง
-        การทำความดีทั้งปวง
-        การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

เบญจศีล
เบญจศีล หมายถึง ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น 5 ประการ สำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

เบญจธรรม
เบญจธรรม หมายถึง หลักธรรมเบื้องต้น 5 ประการ อันเป็นหลักธรรมที่คู่กับเบญจศีล ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรปฏิบัติ

สติ – สัปชัญญะ
สติ หมายถึง การระลึกได้ ดังนั้น การจะทำสิ่งใดก็ตามต้องมีสติระลึกได้ว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดไม่ควรทำ เพราะหากขาดสติแล้วมักมีผลร้ายตามมาเสมอ
สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งอยู่ หากเป็นสิ่งที่ดีก็ควรทำต่อไป แต่หากเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อรู้ตัวแล้วก็ควรหยุดกระทำสิ่งนั้น

สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมของการผูกมิตร ผู้ที่นำหลักธรรมในหัวข้อนี้ไปปฏิบัติ จะเป็นผู้มีมิตรมาก และเป็นที่รักของมิตรทั้งหลาย

ฆราวาสธรรม 4
ฆราวาสธรรม 4 หมายถึง ข้อควรปฏิบัติของผู้ครองเรือน หรือ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งเรื่องการงาน และครอบครัว

มงคล 38
มงคล หมายถึง สิ่งที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติแล้วทำให้เกิดความเจริญ มงคลมีทั้งหมด 38 ข้อ แต่ในระดับชั้นนี้เรียนเพียง 3 ข้อ ได้แก่ มงคลข้อที่ 4 ข้อที่ 10 และข้อที่ 15

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

          วันมาฆบูชา
          วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ได้แก่
1)      พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
2)     พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ เป็นประสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าบวชให้
3)     พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
4)      วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน แต่ต่างปีกัน

วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อระลึกถึงวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 8 วัน

วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาพระในเดือน 8 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก ทำให้พระรัตนตรัยครบ 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระสงฆ์




Download - เนื้อหา
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...