วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ วิทยาศาสตร์ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ตัวเรา (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป. 1 - 2 - 3 ___ ป.1 - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ตัวเรา (เนื้อหา)


Download


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ตัวเรา


         
           คนเป็นสิ่งมีชีวิต และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร อากาศ และน้ำ ร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ต่างกัน แต่สอดคล้องประสานกัน เพื่อช่วยให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างปกติและปฏิบัติภารกิจได้

อวัยวะภายนอก
          นักเรียนทราบหรือไม่ว่า อวัยวะภายนอกที่สำคัญของเรามีอะไรบ้าง จากการสังเกต นักเรียนจะเห็นว่า อวัยวะภายนอก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มองเห็นได้นั้น ได้แก่ ศีรษะ ตา จมูก ปาก หู แขน ขา มือ และเท้า เป็นต้น


          อวัยวะที่กล่าวถึงนี้มีหน้าที่สำคัญอย่างไร และมีการระวังรักษาอย่างไร

          ศีรษะ เป็นส่วนบนสุดของร่างกาย ภายในศีรษะจะมีสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ด้านหน้าของศีรษะประกอบด้วย คิ้ว ตา จมูก ปากและคาง ด้านขางเป็นตำแหน่งที่อยู่ของหู

ลำตัว เป็นแกนหลักของร่างกาย มีกระดูกสันหลังช่วยพยุงให้ลำตัวตั้งตรงและแข็งแรง คอเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างศีรษะและลำตัว ส่วนของลำตัวประกอบด้วย บ่า อก ท้อง และหลัง

ตา เป็นอวัยวะที่อยู่บนใบหน้า ช่วยให้มองเห็น และมีไว้ดูสิ่งต่าง ๆ เปลือกตาจะมีขนตา ตาดำเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะเป็นแก้วตาที่ช่วยให้เรามองเห็น

จมูก เป็นอวัยวะที่อยู่บนใบหน้า จมูกมีไว้สำหรับดมกลิ่นและหายใจ กลิ่นต่าง ๆ จะถูกสูดเข้าจมูกไปพร้อมกับอากาศ ทำให้รับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น ชนิดของดอกไม้ อาหาร น้ำหอม ผลไม้ ถ้าจมูกของคนผิดปกติ จะไม่ได้กลิ่นอะไร นอกจากนั้นยังมีผลกระทบต่อการหายและการออกเสียงด้วย

ผิวหนัง เป็นอวัยวะห่อหุ้มร่างกาย ที่ผิวหนังมีประสารทรับความรู้สึก ทำให้บอกลักษณะของสิ่งที่สัมผัสได้ นอกจากนี้ผิวหนังยังทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และช่วยป้องกันเชื้อโรค

หู เป็นอวัยวะสำหรับฟังเสียงต่าง ๆ ทั้งเสียที่ดังและเสียงค่อย ๆ ทั้งเสียงที่น่าพึงพอใจ และที่รบกวน นอกจากนั้นยังช่วยให้เราได้รับรู้ความรู้สึกของคนรอบข้างว่า เรากำลังต้องการความช่วยเหลือ กำลังเจ็บปวด หรือกำลังโกรธ

ปาก ในปากมีฟัน และลิ้น ฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อสะดวกในการกลืนลงสู่กระเพาะอาหาร ลิ้นเป็นอวัยวะรับรสอาหาร ที่ผิวลิ้นมีต่อมเล็ก ๆ ทำหน้าที่รับรส เมื่อมีอาหารเข้าปาไปสัมผัสลิ้น อาหารจะไปกระตุ้นให้ประสาทรับรสบอกรสของอาหารนั้นว่า เปรี้ยว ขม เค็ม หรือ หวาน ส่วนต่อมของลิ้นที่ทำหน้าที่รับรสต่าง ๆ นั้น ดูในภาพ


          มือ มีหน้าที่หยิบจับสิ่งของ เขียนหนังสือ และทำงานต่าง ๆ

ผม เส้นผม มีหน้าที่ปกคลุมศีรษะ ป้องกันความร้อนและความเย็น

เท้า เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของร่างกาย เท้ามีหน้าที่ใช้เดิน เตะ วิ่ง และยืนได้สะดวก

การดูแลรักษาอวัยวะ
          อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เราจึงต้องดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ เพื่อจะทำให้เรามีสุขภาพดี และมีพลานามัยที่สมบูรณ์

          การรักษาความสะอาด และป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ หู ตา จมูก

การรักษาความสะอาดหู
          เรารักษาความสะอาดหู โดยใช้สำลี หรือผ้าที่สะอาเช็ดใบหู และซอกหูให้สะอาด

การป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่หู


(1)    ไม่ใช้ของแข็งแคะหู
(2)   ระวังไม่ให้แมลง และของชิ้นเล็ก ๆ เข้าไปในรูหู
(3)  อย่าให้น้ำเข้าหู เพราะอาจจะทำให้หูเป็นน้ำหนวกได้
(4)   ไม่อยู่ในทีมีเสียงดังเกินไป และไม่ฟังเสียงที่ดังมาก ๆ
(5)  อย่าให้เพื่อนตะโกนใส่หู
(6)  ถ้าเกิดโรคเกี่ยวกับหูต้องไปหาหมอทันที
การรักษาความสะอาดตา
เวลามีฝุ่นละอองเข้าตา ต้องใช้นำยาล้างตา หรือล้างด้วยน้ำสะอาด
การป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ตา

(1)    อย่าให้ของแข็งกระทบตา
(2)   ไม่มองเวลาที่มีแสงจ้าเกินไป เช่น มองดวงอาทิตย์ หรือมองสีขาวกลางแดดจัด
(3)  ไม่อ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
(4)   ไม่อ่านหนังสือบนรถขณะรถวิ่ง
(5)  ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น เพราะจะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาได้

การรักษาความสะอาจมูก
          เรารักษาความสะอาดจะมูกได้โดยใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีชุบน้ำอุ่น หรือน้ำสะอาดบิดให้แห้งเช็ดรูจมูกเบา ๆ เพื่อไม่ให้มีฝุ่นละอองเกาะขนจมูกหรือน้ำมูกแห้งติดรูจมูก

การป้องกันอันตรายที่เกิดแก่จมูก

(1)    ไม่ใช้ของแข็งแคะ หรือแหย่เข้ารูจมูก
(2)   ไม่สั่งน้ำมูกแรง ๆ
(3)  อย่าให้จมูกกระทบกระแทกของแข็ง
(4)   ไม่ถอนขนจมูก เพราะขนจมูกจะช่วยป้องกันเชื้อโรค และฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย
(5)  เมื่อมีโรคเกี่ยวกับจมูก ต้องรีบไปหาหมอ

การดูแลรักษามือ เท้า เล็บ

มือ
          เราใช้มือจับสิ่งต่าง ๆ จึงทำให้มือสกปรก และมีเชื้อโรคติดอยู่ที่มือและเล็บ ดังนั้น ภายหลังการทำงาน หลังจากถ่ายอุจาระ ปัสสาวะ และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เราต้องล้างมือให้สะอาด้วยสบู่ แล้วเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด มิเช่นนั้นอาจทำให้ท้องเสีย เป็นบิด หรืออหิวาตกโรคได้

การล้างมือให้สะอาด

   1)      ล้างมือด้วยน้ำ
   2)     ใช้น้ำสบู่ฟอกเป็นเวลา 10 วินาที

การล้างมือมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

 1)      ฟอกฝ่ามือ และง่ามนิ้วมือด้านหน้า

2)     ฟอกหลังฝ่ามือ และง่ามนิ้วมือด้านหลัง

3)     ฟอกนิ้วมือด้านหลัง

4)     ฟอกนิ้วหัวแม่มือ

5)     ฟอกปลายนิ้ว และลายเส้นมือ

6)     ฟอกกรอบข้อมือ และล้างน้ำสบู่

เท้า
          เท้าเป็นอวัยวะที่ใช้เดิน หรือ วิ่งเล่น การเดินเท้าเปล่า อาจทำให้เราติดเชื้อโรคจากพื้นดิน เช่น เชื่อรา ทำให้เป็นฮ่องกงฟุต ซึ่งเกิดจากน้ำกัดเท้า หรือพื้นดินที่เปียก แฉะ เป็นผลให้เจ็บปวด คัน เดินและวิ่งไม่ได้ ดังนั้น เราต้องล้างเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อล้างเท้าแล้วต้องเช็ดให้แห้ง เวลาออกนอกบ้านต้องสวมรองเท้า และต้องล้างเท้าให้สะอาดก่อนเข้านอน


เล็บ
          เราต้องตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ถ้าเราปล่อยให้เล็บมือเล็บเท้ายาว จะเป็นที่อยูอาศัยของเชื้อโรค เพราะเชื่อโรคจะอยู่ตามซอกเล็บและนิ้วมือ


การดูแลรักษาผิวหนัง ผม

ผิวหนัง
          เรารักษาความสะอาดโดยการอาบน้ำ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตื่นนอนตอนเช้าและตอนเย็นหลังจากกลับจากโรงเรียนหรือก่อนรับประทานอาหารเย็น เช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าที่สะอาด ระวังไม่ให้ผิวหนังถูกแสงแดดที่ร้อนมาก และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถ้าเรารักษาผิวหนังตามที่กล่าวถึง เราจะมีสวย และสะอาด

ผม
          เราต้องสระผมอยู่เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แล้วเช็ดผมให้แห้ง เพราะถ้าผมสกปรกจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เด็ก ๆ ควรตัดผมให้สั้นเราทำความสะอาดง่าย

การดูแลรักษาปากและฟัน

(1)  ปากและฟัน เรารักษาความสะอาดปากและฟันด้วยการแปรงฟัน และควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และก่อนนอน นักเรียนจะต้องรู้จักแปรงฟันให้ถูกวิธี ฟันบนให้ปัดขนแปรงลง ฟันล่างให้ปัดขนแปรงขึ้น เมื่อแปรงเสร็จแล้ว บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
(2)  ถ้ามีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน ควรใช้เส้นไหมขัดฟันทำความสะอาด ขจัดเศษอาหารให้ออก ถ้าทำไม่ได้ให้บอกผู้ใหญ่ทำให้ อย่าใช้ไม้จิ้มฟันแคะฟัน
(3) เมื่อแปรงฟันเสร็จแล้ว ให้ใช้นิ้วนวดเหงือกทุกครั้ง เพื่อให้เหงือกสะอาดและแข็งแรง
(4) การเคี้ยวผักสด หรือผลไม้ เช่น ผักกาดขาว คะน้า อ้อย ฝรั่ง ทำให้สุขภาพเหงือกและฟันแข็งแรง
(5) อย่าใช้ปากเปิดหรือแทะสิ่งของ เพราะจะทำให้ฟันหักหรือบิ่น
(6) ควรไปพบหมอฟัน เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน

** สรุปสาระสำคัญ

1)  อวัยวะภายนอกที่สำคัญของเรา ได้แก่ ศีรษะ ตา จมูก ปาก หู แขน ขา มือ และเท้า
2)  อวัยวะเหล่านี้ มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตของคนเรา โดยทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ประสานสัมพันธ์กัน ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการบาดเจ็บ หรือขาดไป เราจะไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้น เราจึงต้องดูแลรักษาอวัยวะทุกส่วนของเราให้ดี เพื่ออวัยวะของเราจะอยู่ได้นาน
3)  การดูแลรักษาอวัยวะแต่ละส่วน มีขั้นตอนในการปฏิบัติแตกต่างกันไป






Download






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...