บทที่ 1 รู้จักและรักโรงเรียน
1. ความหมายและความสำคัญ
1. ความหมายและความสำคัญ
โรงเรียน คือ สถานศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน เราเป็นเด็ก เมื่อมีอายุพอควร พ่อแม่พาเรามาเข้าโรงเรียน เพื่อให้เราได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เราได้ฝึกอ่าน เขียน คิดลข เข้าใจเนื้อหาสาระวิชาที่ควรรู้ ช่วยเหลือตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
เรามาโรงเรียน เราเป็นนักเรียน มีคุณครูเป็นผู้สอน ทำให้เรามีความรู้ ความคิด ได้รับการฝึกอบรมให้เป็นคนดี สามารถทำงานได้ และอยู่ร่วมกับนักเรียนคนอื่นที่เป็นเพื่อนของเราอย่างมีความสุข
เราเรียนตามอายุในระดับชั้นเรียนที่ต่อเนื่อง คือ ชั้น อนุบาล ชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา จนถึงระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
2. ข้อมูลของโรงเรียน
ข้อมูล คือ เรื่องเป็นจริงเบื้องต้นที่ควรรู้
โรงเรียนมีบริเวณกว้าง มีอาคารเรียน เสาธง สนาม โรงอาหาร ห้องน้ำ บ้านพักครู มีต้นไม้ให้ความร่มรื่น สวยงาม
เราต้องรู้จักข้อมูลของโรงเรียน เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- ชื่อโรงเรียน และอักษรย่อ
- ที่ตั้งและอาคารสิ่งก่อสร้างของโรงเรียน
- ชื่อครูผู้สอน ที่เป็นครูประจำชั้น และครูประจำวิชา
- ชื่อผู้บริหารโรงเรียน
- คำขวัญและสีประจำโรงเรียน
ข้อมูลหรือเรื่องราวของโรงเรียนที่ควรรู้ อาจจะมีหลายเรื่อง ซึ่งเราและเพื่อนในห้องทุกคนสามารถบอกเรื่องได้ตรงกัน ครูผู้สอน หรือ ครูประจำชั้นของเรา จะเป็นผู้บอกข้อมูล หรือเรื่องราวต่าง ๆ แก่นักเรียน เราต้องรู้จักสังเกตและจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย และรักโรงเรียนของเรา
3. บุคคลในโรงเรียน
(1) ผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลแนะนำและควบคุมการทำงานของทุกคนในโรงเรียน เป็นฝ่ายบริหาร มีรองผู้อำนวยการที่ช่วยดูแลงานฝ่ายต่าง ๆ ของโรงเรียนด้วย
(2) ครูผู้สอน
ครูผู้สอน ทำหน้าที่สอน และอบรมนักเรียน ให้มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติดี ฝึกให้เรารู้จักคิด และทำงานเป็น ครูผู้สอนมีทั้งครูประจำชั้น ครูประจำกลุ่มสาระต่าง ๆ รวมทั้งครูบรรณารักษ์ ที่อยู่ประจำห้องสมุด ซึ่งจัดหาและบริการให้ยืมหนังสือแก่ครูและนักเรียน นอกจากนี้ ยังมีครูพยาบาล ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เจ็บป่วยไม่รุนแรง หรือ ช่วยปฐมพยาบาลแก่นักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
(3) ภารโรง
ภารโรง ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาด รักษาทรัพย์สินของโรงเรียน คอยเปิด และปิดอาคารเรียน ดูแลและรดน้ำต้นไม้ รวมทั้งซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพดี
นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ หรือคนงาน ที่ทำหน้าที่ริการครูและนักเรียนในด้านอื่น ๆ เช่น ทำอาหาร ขับรถของโรงเรียน พิมพ์เอกสารข้อมูล
(4) นักเรียน
นักเรียนมีหน้าที่สำคัญ คือ ศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งใน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน และฝึกฝนตนเองให้เป็นคนดี เชื่อฟังคำสอนของครู และพ่อแม่ ทำตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน ไม่ดื้อดึง เรานำความรู้ความสามารถที่ได้ฝึกฝนไปประกอบอาชีพ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
4. กฎระเบียบของโรงเรียน
กฎ ระเบียบ หมายถึง ข้อกำหนดให้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันทำตาม เพื่อให้มีความเรียบร้อย มีวินัยที่ดี ไม่วุ่นวาย ผู้ที่ทำตามกฎระเบียบ เป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือ และมีมารยาทที่ดีงาม กฎระเบียบที่ต้องทราบ เพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสม มีหัวข้อเรื่อง และข้อปฏิบัติ ดังนี้
ก. การแต่งกาย
โรงเรียนกำหนดระเบียบการแต่งการตามปกติ คือ ชุดนักเรียน แต่บางวัน นักเรียนต้องแต่งชุดพลศึกษา หรือชุดลูกเสือ เนตรนารี ตามตารางเรียน
เราแต่งกายให้ถูกต้อง และเรียบร้อย ไม่เล่นให้สกปรกเลอะเทอะ
ข. มายาทในการเคารพ
เราเคารพครูในโรงเรียนทุกท่าน เพื่อแสดงถึงกิริยามารยาทที่ดีงาม การเคารพมีหลายแบบ ตามโอกาสที่เราจะนำไปปฏิบัติ มีดังนี้
(1) ไหว้ เราไหว้พ่อ แม่ ครู และผู้ที่มีอายุมากกว่าเรา เพื่อแสดงความเคารพ และทักทายเมื่อพบกัน
(2) กราบ เรากราบพระ 3 ครั้ง เมื่อสวดมนต์ และกราบครู 1 ครั้ง ก่อนเรียน หรือ หมดเวลาเรียน
(3) ยืนตรง เราเข้าแถว และยืนตรง เมื่อเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาทุกเช้า
(4) วันทยหัตถ์ เมื่อวันที่เราแต่งเครื่องแบบลูกเสือ – เนตรนารี
(5) ถวายความเคารพ นักเรียนชายโค้งคำนับ นักเรียนหญิง ถอนสายบัว ในวันที่มีกิจกรรมถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ค. มารยาทในการพูด
ทุกคนชอบฟังคำพูดที่ไพเรา นุ่มนวล เมื่อเราพูดกับคนอื่น จึงต้องมีมารยาทในการพูด และพูดสื่อสารให้เข้าใจกัน ดังนี้
(1) ใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดกล่าวร้ายผู้อื่น
(2) พูดชัดถ้อยชัดคำ ไม่พูดอ้อมแอ้ม หรือไม่พูดตะโกนเอะอะ
(3) รู้จักใช้คำว่า สวัสดี ขอบคุณ ขอบใน ขอโทษ ให้เหมาะสมตามโอกาส
(4) ไม่พูดปด ให้พูดแต่ความจริง
(5) เมื่อมีปัญหา ต้องรีบพูดบอก พ่อ แม่ ครู หรือ ผู้อื่นให้รู้เรื่อง
ง. การมีส่วนร่วมในห้องเรียน
ในแต่ละห้องเรียน มีครูผู้สอน เป็นผู้ให้ความรู้ และ อบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความประพฤติที่ดีงาม ฝึกการอยู่ร่วมกัน ดูแลช่วยเหลือกัน โดยกำหนดเป็นข้อตกลงในห้องเรียน ได้แก่
(1) ตั้งในฟังครูสอน และทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(2) ช่วยกันรักษา และทำความสะอาดห้องเรียน
(3) ทิ้งขยะในถังรองรับทุกครั้ง ไม่มักง่ายทิ้งเกลื่อนกลาด
(4) เลือกหัวหน้าห้อง เพื่อบอกเคารพครู และช่วยเหลืองานของครูบางเรื่อง
(5) ปฏิบัติหน้าที่การทำความสะอาดห้องเรียนประจำวัน
(6) ไม่นำอาหาร หรือขนมมากินในห้องเรียน
(7) รู้จักการเข้าแถวตามลำดับก่อนหลังเมื่อส่งงาน หรือรับสิ่งของ และเข้าแถวตามลำดับสูงต่ำเมื่อเคารพธงชาติตอนเช้า
5. ระเบียบวินัย
ระเบียบวินัย คือ ข้อกำหนดที่เราต้องทำตาม และข้อห้ามที่ไม่ควรทำ เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนอยู่ร่วมกันอย่างสงบ เรียบร้อย ไม่วุ่นวาย ไม่เกิดปัญหา
ก. ข้อกำหนดที่ต้องทำ
(1) มาโรงเรียนทุกวัน ไมหยุดเรียนบ่อยโดยไม่จำเป็น
(2) มาโรงเรียนแต่เช้า ไม่มาสาย เมื่อเลิกเรียนรีบกลับบ้าน ไม่เถลไถล
(3) แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ถูกระเบียบ
(4) รู้จักเคารพครู และผู้ใหญ่ มีน้ำใจรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
(5) มีมารยาทในการพูด การเคารพ การเข้าแถว และการเดินแถว
ข. ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ
(1) ห้ามทะเลาะวิวาท หรือ แกล้งเกเรกัน
(2) ห้ามลักขโมย หรือ แย่งสิ่งของผู้อื่น
(3) ไม่แต่งกายผิดระเบียบที่กำหนด
(4) ไม่ทำลายสิ่งของ หรือทรัพย์สินของโรงเรียน
(5) ไม่ละเลยต่องานที่ครูให้ทำ
6. การช่วยเหลือโรงเรียน
เราเป็นสมาชิกชองโรงเรียน เราทุกคนรู้จักบุญคุณของโรงเรียน และครูผู้สอน โดยการช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น
- เมื่อโรงเรียนขอความร่วมมือ ควรให้การสนับสนุน
- ตั้งใจเรียน ประพฤติดี เป็นที่ยกย่องของบุคคลทั่วไป
- ชั่วกันรักษาความสะอาดของโรงเรียน และช่วยทำความสะอาดห้องเรียน
- ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดด้วยความเต็มใจ
- ปิดน้ำ และปิดไฟฟ้าทุกครั้งที่ใช้แล้ว เพื่อช่วยกันประหยัด
- ทำตามระเบียบวินัยของโรงเรียน และสามัคคีกัน
7. การใช้จ่ายเมื่อมาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของเรา ซึ่งพ่อแม่เป็นผู้จ่ายเงินให้แก่เรา เพื่อให้มีสิ่งของ เครื่องใช้ และค่าบริการ ได้แก่ เสื้อผ้า สมุด หนังสือ เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง รวมทั้งค่าใช้จ่ายประจำวันของเรา บางโรงเรียนต้องเสียค่าเล่าเรียนด้วย
ส่วนทางโรงเรียนต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่อง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน การสอน ค่าแรงคนงาน ค่าซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหาย บางโรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูผู้สอนด้วย
นักเรียนต้องรู้จักการใช้จ่ายให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อฝึกนิสัยที่ดีในการประหยัด เป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ และโรงเรียน ดังนี้
(1) ซื้อของใช้ที่จำเป็นและเก็บไว้ใช้นาน ๆ ให้คุ้มค่า
(2) รู้จักเก็บข้อใช้ทุกครั้ง ไม่ทิ้งขว้าง
(3) เขียนชื่อ นามสกุล และชั้น ที่สมุด หนังสือ และเครื่องเขียน
(4) เลือกซื้อของกินที่สะอาด และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
(5) แบ่งเงินที่ได้รายวันเก็บออมไม่ควรใช้ให้หมด
Download (เนื้อหา) Download (แบบฝึกหัด) Download (แบบทดสอบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น