วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.2 - บทที่ 6 เรานับถือศาสนา (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.2 - บทที่ 6 เรานับถือศาสนา (เนื้อหา)








บทที่ 6 เรานับถือศาสนา

     1.  การนับถือศาสนา
เมื่อเราเกิดมา พ่อแม่เป็นบุคคลแรกที่สอนให้เรารู้จักและนับถือศาสนา สอนให้เราเคารพ และทำตามคำสอน โดยให้ทำความดี ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่น ดังนั้น เราควรรู้จัก และนับถือศาสนาตั้งแต่เกิดในครอบครัว
ต่อมา เราเติบโตขึ้น และไปโรงเรียน เรามีคุณครู และมีเพื่อนมากหมายหลายคน เราเรียนหนังสือ ทำงานที่ครูมอบหมาย เราสนใจเรียนรู้ เราเล่นสนุกด้วยกันกับเพื่อน เพราะเราทำดีต่อกัน แต่ถ้าเรามีการทะเลาะหรือเกเรกัน ก็จำให้ไม่มีความสุข คุณครูสอนเราให้อยู่ร่วมกัน โดยนำหลักคำสอนของศาสนา มาเป็นข้อปฏิบัติ
ดังนั้น เราจึงเห็นว่า ศาสนามีข้อคำสอนให้คนทำดี ละเว้นการทำชั่ว หรือการทำบาป ซึ่งจะต้องมีจิตใจที่ดีงาม และเข้มแข็ง จึงละเว้นการทำชั่ว และหมั่นทำความดี

     2. ความหมายของศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ คือ ศาสนาที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้คิดค้นคำสอน และนำคำสอนมาเผยแผ่เป็นแนวทางปฏิบัติตน ให้มีความสุข ความเจริญ ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อกัน ทำให้คนเราอยู่ร่วมกันได้โดยสงบ ไม่ทะเลาะ หรือทำร้าย และทำลายกัน จนมีผู้นับถือ และนำข้อคำสอนมาปฏิบัติ ซึ่งได้ผลดี เป็นที่ยอมรับนับถือกันมานานกว่า 2,500 ปี แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ ซึ่งองค์ประกอบของศาสนาพุทธ มีดังนี้
1)     ศาสดา ผู้ตั้งคำสอน คือ พระพุทธเจ้า
2)     คำสอน เรียกว่า พระธรรม
3)     สาวก ผู้ปฏิบัติตามคำสอน และนำไปเผยแผ่ คือ พระสงฆ์
ซึ่งองค์ประกอบทั้งสามของศาสนาพุทธนี้ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย แปลว่า แก้ว 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

     3.  คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ เกิดขึ้นในประเทศอินเดียโบราณ เกิดมาเป็นเวลานานแล้ว และได้มีการเผยแผ่สืบต่อกันมา จนแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย ในยุคสมัยแรกที่คนไทยมารวมกันเป็นชาติไทย คือ สมัยสุโขทัย และนับถือย่างมั่นคงมาจนถึงปัจจุบันนั้น แม้ว่าจะมีศาสนาอื่นเข้ามาเผยแผ่ด้วย และคนไม่ก็ไม่รังเกียจ หรือกีดกัน เพราะเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี แต่ศาสนาพุทธนั้น เป็นรากฐานความเป็นอยู่ของคนไทย จนกลายเป็นลักษณะที่โดดเด่นทั้งในด้านความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรม และประเพณีไทย ซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงทำให้เป็นศาสนาประจำชาติไทย

     4.  พุทธประวัติ
พุทธประวัติ ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในระดับชั้นนี้ เป็นเหตุการณ์สำคัญก่อนออกผนวช พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อประสูติได้ 5 วัน มีนักปราชญ์ 7 คน ได้ร่วมทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช จะได้เป็นศาสดาของโลก ถ้าไม่บวช ก็จะได้เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีนักปราชญ์ ชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายเพียงข้อเดียวว่า จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
หลังจากประสูติเพียง 7 วัน พระมารดา คือ พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต ผู้ที่เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมา คือ พระนางปชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระมาตุจฉา (น้าหญิง)

-    เหตุการณ์แรกนาขวัญ
ครั้งหนึ่งพระเจ้าสุทโธทนะ ได้พาเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปร่วมงานพระราชพิธีแรกนาขวัญ เมื่อถึงเวลาทำพิธีทุกคนออกไปดูกันหมด ปล่อยให้เจ้าชายสิทธัตถะประทับอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่ตามลำพัง ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายแล้ว เงาของต้นไม้อื่นทอดยาวไปตามตะวัน เจ้าชายสิทธัตถะทรงนั่งสมาธิอย่างสงบนิ่ง ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้น คือ เงาของต้นหว้าได้ทอดตรงมาเหมือนตอนเที่ยงวัน เพื่อให้เงาบังพระกุมาร เมื่อพระราชบิดา และข้าราชบริพารกลับมา จึงเป็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

-     เหตุการณ์ช่วยชีวิตหงส์
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญวัย ทรงศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์ ชื่อ วิศวามิตร ทรงเรียนวิชาการได้รวดเร็ว และยังต้องเรียนฝึการใช้อาวุธในการต่อสู่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการเรียนนั้นได้มีเจ้าชายที่เป็นพระญาติเรียนด้วยกันหลายพระองค์
ครั้งหนึ่ง เจ้าชายเทวทัต ผู้เป็นพระญาติ ได้ยิงธนูไปถูกหงส์ ที่กำลังบินผ่านมาบาดเจ็บ ตกลงมายังพื้นดิน เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบหงส์ตัวนั้น ได้นำไปรักษา เมื่อเจ้าชายเทวทัตทราบ สึงไปขอหงส์คืน แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่ยอมให้ และได้ไปหาอาจารย์ให้ช่วยตัดสิน อาจารย์จึงตัดสินว่า ผู้ใดให้ชีวิต ผู้นั้นมีสิทธิ์ได้หงส์ไป” เหตุการณ์นี้แสดงถึงความมีเมตตากรุณาของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งพระองค์ได้รักษาหงส์ตัวนั้นจนหายดีแล้วจึงปล่อยไป

-    การอภิเษกสมรส
เวลาผ่านไป เจ้าชายสิทธัตถะเติบโตสู่วัยหนุ่ม พระราชบิดาต้องการให้เป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง จึงได้หาวิธีหน่วงเหนี่ยวจิตใจ มิให้คิดออกบวช โดยให้สร้างปราสาทที่สวยงามน่าอยู่ มีสิ่งต่าง ๆ ที่ให้ความสุขสำราญ และได้สู่ขอเข้าหญิงยโสธรา หรือ พิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ เพื่อมาอภิเษกสมรสเป็นพระมเหสี

-    เทวทูต 4
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยา ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ซึ่งพระองค์ไม่เคยเห็นคนในสภาพนั้นเลย เพราะอยู่ในปราสาทที่มีคนวัยหนุ่มสาว มีแต่ความสวยงาม การที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนในสภาพเช่นนี้ เพราะเทวดาบันดาลให้เห็นในระหว่างทางที่เสด็จไป เรียกว่า เทวทูต 4 เจ้าชายสิทธัตถะทรงคิดว่า คนเราเกิดมา ยอมมีความทุกข์ คือ ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย ไม่มีใครหนีพ้น พระองค์จึงต้องการที่จ้องออกผนวชเป็นนักบวช เพื่อทรงค้นหาทางดับความทุกข์

-    การออกผนวช
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางยโสธราทรงให้กำเนิดพระโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายราหุล จึงทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นความทุกข์ของคนอีกเรื่องหนึ่งคือ การเกิด พระองค์สงสัยว่า คนเราเกิดมาทำไม เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย ซึ่งเป็นความทุกข์ของมนุษย์ เจ้าชายสิทธัตถะจึงตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อค้นหาทางดับทุกข์ โดยเสด็จออกจากปราสาทตอนดึก ทรงม้าชื่อ กัณฐกะ และมีคนสนิทชื่อ นายฉันนะ ตามไปด้วย เมื่อถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระโมลี (มวยผม) และถอดเครื่องทรงกษัตริย์มอบให้นายฉันนะกลับไปพร้อมกับมากัณฐกะ เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงผนวชตามปรารถนา

    5.  ชาดก
ชาดก เป็นเรื่องในอดีตชาติที่ผ่านมาของพระพุทธเจ้า การเรียนรู้เรื่องชาดก เพื่อให้ได้ข้อคิดสอนใจตัวเอง ในระดับชั้นนี้มีกำหนด 2 เรื่อง

5.1   วรุณชาดำ ความเกียจคร้านทำให้เสียหาย
ครั้งหนึ่งเมื่อชาติก่อน พระพุทธเจ้าได้เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แห่งเมืองตักศิลา มีลูกศิษย์ 500 คน ซึ่งแต่ละคนต้องช่วยกันทำงานบ้านเพราะพักอาศัยอยู่ในบ้านของอาจารย์ วันหนึ่งลูกศิษย์กลุ่มที่ต้องออกไปช่วยกันหาฟืนที่เป็นกิ่งไม้แห้งในป่า เพื่อใช้หุงต้มอาหาร มีลูกศิษย์คนหนึ่งมองเห็นต้นกุ่มใหญ่ นึกว่าเป็นต้นไม้ที่แห้งตาย ด้วยความเกียจคร้าน จึงนอนพักอยู่ใต้ต้นไม้นั้นจนพลบค่ำ ลูกศิษย์คนอื่นที่หาฟืนแห้งได้พากันแบกกลับที่พัก และปลุกลูกศิษย์เกียจคร้านที่นอนหลับอยู่ให้ตื่น ลูกศิษย์เกียจคร้านรีบปีนขึ้นต้นกุ่มหักกิ่งสด ๆ ลงมา แล้วผูกเป็นมัด ๆ แบกไปวางทับบนไม้ฟืนแห้งที่คนอื่นได้วางไว้ก่อน
ค่ำวันนั้น มีผู้มรเชิญอาจารย์ไปทำพิธีสวดมนต์ในวันรุ่งขึ้น อาจารย์จึงสั่งให้ลูกศิษย์ทั้งหลายไปด้วย โดยให้กินอาหารเช้าไปก่อน พอถึงเวลาเช้ามืด พวกลูกศิษย์ก็ปลุกคนใช้ให้ไปต้มข้าวต้ม คนใช้เอาฟืนไม้สดที่มัดอยู่ข้างบนสุดไปก่อไฟ ก่อเท่าไรไฟก็ไม่ติด จึงถึงเวลาสาย ลูกศิษย์ก็มาแจ้งต่ออาจารย์ว่าไปไม่ได้ เพราะยังไม่ได้กินข้าวเช้า อาจารย์สอบถามถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น ได้ทราบเรื่องทั้งหมด จึงสอนว่า การทำงานต้องรอบคอบ ให้รู้จักถึงความจำเป็นที่ต้องทำก่อน ไม่ควรผัดผ่อนเวลา และเกียจคร้านเหมือนลูกศิษย์ที่ไปแอบนอน ในขณะที่คนอื่นทำงาน จึงเกิดความผิดพลาด เสียเวลา และเสียงานดังเช่นเรื่องนี้

5.2  วานรินทชาดก ความฉลาดช่วยให้พ้นภัย
พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่อง ความฉลาดและรู้จักสังเกต จากเรื่องในอดีต ทำให้พระองค์รอดพ้นจากการถูกปองร้ายได้
ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าเกิดเป็นลิง อาศัยและหากินผลไม้อยู่ในป่า ใกล้ลำห้วยที่ค่อนข้างกว้าง และ ลึก ทุกวันลิงจะเหยียบก้อนหินที่โผล่พ้นน้ำ และกระโดดขึ้นไปอีกฝั่งหนึ่งของลำห้วย เพื่อหาผลไม้สุกกิน เมื่อกินอิ่ม ก็จะเหยียบก้อนหินกระโดดกลับฝั่งที่พักตามเดิม
มีจรแข้สองตัวผัวเมียอาศัยอยู่ในลำห้วยนั้น วันหนึ่งจระเข้ตัวเมียมีอาการแพ้ท้อง อยากกินหัวใจลิง จึงบอกกับจระเข้ตัวผู้ ซึ่งจระเข้ตัวผู้รับปากว่าจะหาให้ เพราะสังเกตเห็นลิงตัวหนึ่งจะกระโดดข้ามฝั่งลำห้วยมาหาผลไม้กินทุกวัน จึงคิดอุบายจับลิง โดยจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ อยู่ในลำห้วย เพื่อหลอกว่าเป็นก้อนหิน
วันหนึ่งลิงตัวนั้นหาผลไม้กินอิ่มแล้ว จะข้ามลำห้วยกลับ สังเกตเห็นหินก้อนหนึ่งโผล่สูงพ้นน้ำมากกว่าปกติ จึงแกล้วส่งเสียงเรียกก้อนหิน แล้วพูดบ่นว่า เอ! ทุกวันเราเรียกทักทาย ก้อนหินก็จะพูดตอบเรา แต่วันนี้เป็นอะไรทำไมไม่พูด สงสัยจริง ๆ” ทันใดนั้นก็มีเสียงตอบจากก้อนหิน ลิงจึงรู้ว่าเป็นจระเข้ลอยตัวอยู่ในน้ำ ลิงได้หลอกถามจนรู้ว่านระเข้อยากได้หัวใจลิงไปให้เมียที่กำลับแพ้ท้องกิน ลิงบอกว่าจะยอมให้หัวใจลิง โดยให้จระเข้อ้าปากกว้าง ๆ ลิงจะกระโดดเข้าไปหา ขณะที่จระเข้อ้าปาก มันก็ต้องหลับตาด้วย ลิงจึงกระโดดเหยียบหัวจระเข้แล้วข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างรวดเร็ว และรอดตาย ทั้งนี้เพราะความฉลาดของลิง

      6.  พุทธสาวก
พุทธสาวก คือ ผู้ที่ขอออกบวชเป็นศิษย์ เพื่อนำพระธรรมคำนอนไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี การเรียนรู้พุทธสาวกในระดับชั้นนี้ เป็นเรื่องของสามเณรที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล

สามเณรราหุล
สามเณณราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ และพระนางยโสธรา เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระพุทธเข้าเสด็จไปเยี่ยมพระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ได้ 7 วัน พระราหุลมีอายุได้ 7 ปี ได้เสด็จไปขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า ตามคำชี้แนะของพระมารดา ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์ และพระสงฆ์จำนวนมาก กำลังบิณฑบาตอยู่ในเมือง พระราหุลเดินตามไปจนถึงที่ประทับชั่วคราวของพระพุทธเจ้าที่อยู่นอกเมือง พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ทรัพย์สมบัติที่เป็นสิ่งของนั้นไม่ยั่งยืน ก่อให้เกิดทุกข์ จึงควรที่จะให้สมบัติยั่งยืน คือ พระธรรม จะทำให้เกิดความสุข พระพุทธเจ้าทรงมองให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้บวชพระราหุลเป็นสามเณร
สามเณรราหุลเป็นผู้สนใจ และเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมเป็นอย่างมาก จะตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานว่า จะขอตั้งใจฟังคำแนะนำสั่งสอนจากพระพุทธเจ้า และพระอุปัฌาย์ให้มากที่สุด ท่านเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย ไม่ถือตนว่าเป็นพระโอรสของพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระสงฆ์ เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งคิดพิจารณาไปด้วย ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อฟังธรรมจบพอดี

ความหมายของคำศัพท์
-    อธิษฐาน ความตั้งใจที่มุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
-    บิณฑบาต : อาหาร

     7. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรม หมายถึง คำสั่งสอนที่ถูกต้อง เป็นแบบที่นำมาปฏิบัติให้เกิดความถูกต้อง ความดีงามของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักธรรมคำสอนที่จัดเป็นหมวดหมู่ ซึ่งมีมากมาย ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ควรเรียนรู้ และศึกษาหลักธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ควรเรียนรู้ในชั้นนี้ มีดังนี้

7.1   ศรัทธาในคุณของพระรัตนตรัย
ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อถือ ความเลื่อมใส
คุณ หมายถึง พระคุณ หรือ คุณความดี
ดังนั้น ศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย หมายถึง ความเชื่อถือ ความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งมีพระคุณ ดังนี้
1)   พระคุณของพระพุทธเจ้า พระพุทธเข้าตรัสรู้โดยรู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระองค์เอง แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาในพระพุทธเข้า จึงกราบไหว้บุชาพระพุทธรูป ซึ่งเป็นสิ่งแทนองค์พระพุทธเจ้า
2)   พระคุณของพระธรรม พระธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเข้า ซึ่งพุทธศาสนิกชนเชื่อว่า การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะทำให้เกิดความสุข ความเจริญ
3)   พระคุณของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเข้า เป็นผู้เผยแผ่ศาสนาพุทธให้ยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ เราจึงเคารพกราบไหว้ และหมั่นทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์

  
7.2  หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เราควรศึกษาแนวทางปฏิบัติของหลักธรรม เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เรื่องหลักธรรมที่ควรเรียนรู้ในชั้นนี้มี 3 เรื่อง ดังนี้
1)     สติ – สัมปชัญญะ
สติ หมายถึง ความระลึกได้ก่อนการคิด การพูด และการทำ
สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว ไม่พลั้งเผลอ รู้ว่า การคิด การพูด และการทำนั้นถูกต้องเหมาะสมและดีงาม ไม่หลงผิด โดยใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ตัว
                   สติต้องคู่กับสัมปชัญญะ เรียกว่า สติสัมปชัญญะ หรือ สติปัญญา การฝึกตนเองให้มีสติสัมปชัญญะ จะทำให้ไม่ประมาท รู้จักคิดก่อนพูด และก่อนทำ ควบคุมจิตใจให้คิด พูด และทำในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม เช่น
o  คิดว่า ตั้งใจฟังในขณะที่ครูสอน ทำให้เกิดความเข้าใจบทเรียน จึงไม่ควรพูดคุย หรือแอบทำอย่างอื่นเมื่อครูกำลังสอน
o  คิดว่า การรังแก หรือแกล้งเพื่อน ทำให้เพื่อนโกรธ ไม่ชอบ ต้องฟ้องครู ทำให้ถูกดุ หรือ ถูกลงโทษ เสียเวลาเรียน ไม่มีเพื่อนอยากเล่นด้วย จึงไม่แกล้วกันดีกว่า

2)    เบญจศีล – เบญจธรรม
เบญจ แปลว่า ห้า
ศีล แปลว่า ข้อห้ามทำความชั่ว
ธรรม แปลว่า ข้อควรทำความดี
เบญจศีล หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว 5 ข้อ คือ
(1)   ไม่ทรมาน หรือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายรังแกหรือเบียดเบียนผู้อื่น
(2)   ไม่ลักขโมย หรือไม่ฉ้อโกงทรัพย์สินสิ่งของของผู้อื่น
(3)   ไม่แย่งของรักของหวงหรือคู่ครองของผู้อื่น
(4)   ไม่พูดโกหกและไม่พูดคำหยาบ
(5)   ไม่ดื่มเหล่า และไม่เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด

เบญจธรรม หมายถึง ข้อควรปฏิบัติในการทำความดี 5 ข้อ คือ
(1)   ให้มีเมตตากรุณาต่อคนและสัตว์
(2)   มีอาชีพสุจริต รู้จักทำงาน
(3)   มีความสำรวมและพอใจในคู่รองและสิ่งที่มีอยู่
(4)   มีความซื่อสัตย์ สุจริต พูดจริงทำจริง
(5)   มีสติสัมปชัญญะ มีความคิดรอบคอบ รู้ตัวอยู่เสมอ

2)    กตัญญูกตเวทีต่อครู อาจารย์ และโรงเรียน
ครู อาจารย์ เป็นผู้สั่งสอนอบรมให้เราได้เกิดการเรียนรู้ ปฏิบัติตนในเรื่องต่าง ๆ ได้ถูกต้อง เหมาะสม และทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เรามีวิชาความรู้ความสามารถ ฝึกการทำงาน นำไปประกอบอาชีพเมื่อเติบโตขึ้น และเพื่อให้เราเป็นคนดีมีคุณธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข
โรงเรียน เป็นสถานที่ ที่เรามาศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนความสามารถด้านต่าง ๆ รู้จักการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันโดยไม่เห็นแก่ตัว
นักเรียนต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อครู อาจารย์ และโรงเรียน ดังนี้
(1)   ตั้งใจเรียนขณะที่ครูสอน และทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันเวลา
(2)   แสดงความเคารพ และมีกิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนน้อมต่อครู
(3)   มีน้ำใจช่วยเหลือครูตามโอกาสที่สมควร
(4)   ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียน และบริเวณโรงเรียน
(5)   ประพฤติดี มีระเบียบวินัย และสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน
(6)   ใช้ไฟฟ้า น้ำประปา และสิ่งของในโรงเรียนอย่างประหยัดและถูกวิธี
(7)   ให้ความร่วมมือ และช่วยเหลืองานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ



7.3   มงคล 38
การปฏิบัติตนตามข้อมงคล จะทำให้เกิดความสุข ความเจริญก้าวหน้าต่อชีวิต มงคลที่ควรเรียนรู้และนำไปฝึกตนในระดับชั้น ป.2 มี 3 ข้อ ดังนี้

1)  รับใช้พ่อแม่
พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิด และเลี้ยงดูเรา ท่านสอนและอบรมเราให้รู้จักช่วยตัวเองได้ และส่งเสียให้เราได้ศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานมีอาชีพเลี้ยงตัวเองเมื่อเติบโตขึ้น เราต้องรู้จักรับใช้ท่าน ท่านบอกหรือสอนให้เราทำสิ่งใดเราต้องเชื่อฟัง ไม่ทำเรื่องเดือดร้อน ช่วยเหลืองานที่ท่านใช้ ตั้งในเรียนเพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชิ ดำรงชีวิตต่อไป
เมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีอาชีพการงาน เราต้องตอบแทนพระคุณของท่านด้วยการเลี้ยงดู ถ้าท่านเจ็บป่วย ต้องรักษาดูแลไม่ทอดทิ้ง รวมทั้งช่วยกิจการงานของท่านแทนท่านด้วยการดูแลรับใช้พ่อแม่ ถือว่าเป็นมงคลสูงสุดอีกข้อหนึ่ง ที่เราทุกคนต้องทำ

2)  กตัญญู
กตัญญู หมายถึง การรู้บุญคุณ และสิ่งที่ให้คุณค่าประโยชน์แก่เรา ได้แก่
o  กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรา โดยการแสดงความเคารพ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่น เชื่อฟังคำสอน และประพฤติตัวดี เพื่อให้ท่านเชื่อใจ และสบายใจว่า เราจะเลี้ยงตัวเองได้เมื่อโตขึ้น
o  กตัญญูต่อครู อาจารย์ ผู้อบรมสั่งสอนเราให้ศึกษาเรียนรู้วิทยาการด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชิ ฝึกให้เราเป็นคนดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เราเชื่อฟังครู และทำตามคำสอนและคำสั่ง เมื่อท่านมอบหมายงาน เราต้องทำอย่างไม่ย่อท้อ และรู้จักแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง จึงนับว่าเป็นความกตัญญูต่อครู อาจารย์
o  กตัญญูต่อประเทศชาติ โดยปฏิบัติตนตามระเบียบ และกฎหมายของประเทศ การกระทำที่เราแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ และครูอาจารย์ ก็เป็นพื้นฐานของความกตัญญูต่อสังคมและประเทศชาติด้วย
ความกตัญญู เป็นคุณธรรมของคนดี ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ มีความสำเร็จของชีวิต เป็นมงคล และได้รับการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่นด้วย

3)    สงเคราะห์ญาติ
สงเคราะห์ หมายถึง การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ อุดหนุนจุนเจือกัน
ญาติ หมายถึง บุคคลที่มีความเกี่ยวกันกันทางสายเลือด มีลำดับชั้นที่เราเกี่ยวกันกัน ดังนี้
o  ญาติผู้ใหญ่ ได้แก่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา เป็นผู้ใหญ่ที่มีสายเลือดเดียวกันกับพ่อแม่ของเรา เราต้องให้ความเคารพนับถือ ช่วยเหลืองาน และรับใช้ตามที่ท่านขอร้องด้วยความมีน้ำใจ
o  ญาติพี่น้อง ได้แก่ พี่และน้องของเราที่มีพ่อแม่เดียวกัน หรือลูกของญาติผู้ใหญ่เป็นเป็นลูกผู้พี่ หรือลูกของลุงหรือป้า และลุกผู้น้อง คือลูกของอา หรือน้า ซึ่งเราต้องมีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือกันเมื่อมีปัญหา แบ่งปันของเล่นของกินให้แก่กัน ไม่ทะเลาะหรือรังแกกัน
การรู้จักสงเคราะห์ช่วยเหลือญาติพี่น้อง เป็นมงคลอีกข้อหนึ่งที่เราควรนำข้อคิดไปปฏิบัติให้เหมาะสม

7.4  พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่มีคติสอนใจ มุ่งให้เกิดความคิดที่ดี เพื่อเตือนให้ละเว้นความชั่ว หมั่นทำความดี และฝึกใจให้คิดถูกต้องดีงาม ซึ่งเป็นคำกล่าวภาษาบาลี และมีคำแปลที่เราควรท่องจำให้ได้ ในระดับชั้นนี้ มีพุทธศาสนสุภาษิตที่ควรรู้ 2 ข้อ คือ
1)     นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตตฺญูกตเวทิตา
อ่านว่า นิ – มิด – ตัว – สา – ทุ – รู – ปา – นัง – กะ – ตัน – ยู – กะ – ตะ – เว – ทิ – ตา
แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ความหมาย กตัญญูกตเวที หมายถึง การระลึกถึงพระคุณ และรู้จักตอบแทนพระคุณแก่บุคคลที่เลี้ยงดู ช่วยเหลือ ทำประโยชน์ให้แก่เรา คือ พ่อแม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม เราต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน เห็นคุณค่าของการกระทำที่มีคุณประโยชน์ เราควรทำตามคำสอนที่ดีงาม จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความกตัญญู กตเวที และเป็นคนดีด้วย
2)    พรหฺมาติ มาตาปิตโร
อ่านว่า พรม – มา – ติ – มา – ตา – ปิ – ตะ – โร
แปลว่า มาดา บิดา เป็นพรหมของบุตร
ความหมาย พ่อแม่ ให้กำเนิด และเลี้ยงดูลูกจนเติบโต เปรียบเสมือนเป็นพระพรหมของลูก โดยมีหลักธรรมประจำใจในการเลี้ยงดูลูกให้มีความเจริญเติบโต ดังนี้
o  เมตตา รักลูกอย่างแท้จริง ต้องการให้ลูกมีความสุข
o  กรุณา สงสาร คอยช่วยเหลือ แนะนำ เมื่อลูกมีความยากลำบาก
o  มุทิตา มีความรู้สึกยินดี พึงพอใจ เมื่อลูกทำดี หรือได้ดี
o  อุเบกขา ต้องเฉย และปล่อยวาง เมื่อไม่สามารถช่วยลูกได้แล้ว

7.5   เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก
หนังสือพระไตรปิฎก เป็นหนังสือตำราที่รวมรวมบันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเข้า ที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีเรื่องราวที่เป็นตัวอย่างน่าสนใจ ได้คติข้อคิดที่มี มีเรื่องน่ารู้ เมื่ออ่านแล้ว สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับชีวิต ในชั้นนี้ เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก คือ

วิธีปฏิบัติเมื่อถูกว่าร้าย
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเทศนาสั่งสอนประชาชน ซึ่งมีผู้นับถือที่มีศรัทธา ขอบวชเป็นพระภิกษุเป็นจำนวนมาก ทำให้นักบวชลัทธิอื่นโกรธ ไม่พอใจ ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์พร้อมทั้งคณะสงฆ์ ได้เดินทางมาถึงนครโกสัมพี ก็ถูกพวกบริวารของเข้าลัทธิที่มีจำนวนมาก มากันมาด่าทอ พระพุทธเจ้า และคณะสงฆ์ ด้วยถ้วยคำที่รุนแรง หยาบคาย จนพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปนึ่ง ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ และขอให้เดินทางออกจากนครโกสัมพี
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า ถ้าไปเมืองอื่นถูกคนที่นั่นด่าทอว่าร้ายอีกจะทำอย่างไร พระอานนท์ตอบว่า ก็ย้ายไปที่อื่น พระพุทธเข้าตรัสตอบพอสรุปได้ว่า หากพวกเราอดทนอยู่ต่อไปก็จะไม่ลำบากในการโยกบ้ายไปมา การอดทนอดกลั้น ทำให้เราเอาชนะศัตรูได้ เราต้องไม่ใส่ใจต่อคำกล่าวร้าย ซึ่งคนที่กล่าวร้ายนั้น เหมือนกับการถ่มน้ำลายขึ้นไปบนฟ้า เพื่อจะให้ฟ้าเปื้อน แต่น้ำลายก็จะตกลงมารดหน้าคนผู้นั้นเอง
ผลแห่งความอดทนอดกลั้น ไม่โต้ตอบของคณะสงฆ์ ทำให้ประชาชนทั้งหลายพากันเกลียดชังนักบวช และสาวกเจ้าของลัทธินั้น ที่ได้กล่าวร้ายต่อผู้ที่ไม่เคยกล่าวร้ายใคร คนทั้งหลายจึงพากันหันมานับถือศาสนาพุทธ และขอบวชเป็นพระภิกษุหลายรู

     8.   หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีความเลื่อมใส และศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเข้า เมื่อปฏิบัติตนตามคำสอน ย่อมต้องมีความสุขความเจริญ และต้องมีหน้าที่ต่อพระพุทธศาสนา โดยสามารถปฏิบัติได้ตามวัยหลายด้าน ดังนี้

8.1   การปฏิบัติต่อพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้อควรปฏิบัติที่ดีงาม เพื่อแสดงถึงความเคารพบูชาต่อพระรัตนตรัย ดังนี้
(1)   พระพุทธรูป เป็นสิ่งแทนองค์พระพุทธเจ้า ต้องตั้งวางไว้ให้สูงจากพื้น หรือวางที่โต๊ะหมู่บูชาตัวที่สูงที่สุด และทำความสะอาอยู่เสมอ
(2)   กราบไหว้พระพุทธรูปด้วยความเคาพรเป็นประจำ
(3)   ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเข้า โดยละเว้นทำชั่ว หมั่นทำความดี และฝึกจิตให้คิดถูกต้อง
(4)   ไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน
(5)   เมื่อไปวัดพบพระสงฆ์ ไม่นั่งเสมอกับท่าน และควรประนมมือเมื่อสนทนากับท่าน
(6)   ควรถอดรองเท้าเมื่อเวลาตักบาตร
(7)   หาโอกาสไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่วัด เช่น ไปฟังเทศน์ หรือเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา

8.2  การช่วยเหลือบำรุงรักษาวัด
วัด เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพุทธ และเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ สามเณร สิ่งก่อสร้างในวัด ได้แก่ โบสถ์ เจดีย์ วิหาร กุฏิ วัดเป็นสถานที่ที่ช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ในการช่วยเหลือบำรุงวัด ดังนี้
(1)   หมั่นไปวัด เพื่อร่วมทำบุญ ถือศีล ฟังธรรม
(2)   ไม่ทำลายทรัพย์สมบัติภายในวัด และช่วยดูแลไม่ให้ผู้อื่นทำลายวัดด้วย
(3)   ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์แก่วัดตามโอกาส เช่น ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดบริเวณวัด
(4)   บริจาคทรัพย์ สิ่งของเครื่องใช้ ที่จำเป็นแก่วัด

8.3  การประเคนสิ่งของที่เหมาะสมแด่พระสงฆ์
การประเคน คือ การถวาย หรือมอบสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ วัตถุสิ่งของที่ควรถวายแด่พระสงฆ์ เรียกว่า เครื่องไทยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในความเป็นอยู่เท่านั้น มิใช่ของฟุ่มเฟือย และการถวายสิ่งของบางอย่างต้องมีกำหนดเวลาด้วย เราควรรู้เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติถูกต้อง ดังนี้
(1)   อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง หรือเครื่องกระป๋อง ต้องถวายภายในเวลาเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น หลังเวลาเที่ยงไปแล้ว พระสงฆ์รับประเคนไม่ได้ ต้องอาบัติโทษตามพระวินัย
(2)   น้ำดื่ม น้ำผลไม้ต่าง ๆ ที่ไม่ขบเคี้ยว ภาษาพระเรียกว่า น้ำปานะ ถวายได้ตลอดเวลา
(3)   เครื่องอุปกรณ์และเครื่องชำระ ถวายได้ตามความจำเป็น ไม่กำหนดเวลา เช่น ตะ เก้าอี้ เสื่อ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
(4)   สิ่งที่ไม่ควรประเคนถวายโดยตรง คือ เงิน และวัตถุแทนเงิน เช่น ธนบัตร เช็ค ควรใช้ใบปวารณาที่เป็นใบบอกจำนวนเงินทำบุญ ส่วนเงินควรมอบไว้ให้แก่ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติพระสงฆ์รูปนั้น

8.4  มารยาทชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชน เป็นผู้ที่มีกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย มีคำพูดไพเราะอ่อนโยนต่อบุคคลอื่น ซึ่งเป็นนิสัยที่ดี ย่อมเป็นที่ชื่นชมของผู้ที่พบเห็น เราเป็นเด็ก ควรฝึกมารยาทที่ดีงาม เพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสม เราได้เรียนรู้ และฝึกการประนมมือและการไหว้ในระดับชั้น ป.1 ไปแล้ว ในชั้นนี้เราควรรู้วิธีการกราบ ดังนี้



การกราบ
การกราบ เป็นการเคารพที่แสดงความอ่อนน้อมอย่างสูงสุด ตามแบบประเพณีไทย มี 2 ลักษณะ คือ
(1) การกราบพระพุทธรูป และพระสงฆ์ เป็นการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การกราบโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 5 ส่วน จรดถึงพื้นพร้อมกัน ได้แก่ ฝ่ามือทั้งสอง เข่าทั้งสอง และหน้าผากจรดลงกับพื้น
วิธีกราบ
(1.1)        ท่านั่น ให้นั่งคุกเข่า ชายนั่งท่าเทพบุตร โดยให้ส้นเท้าตั้งขึ้น หญิงนั่งท่าเทพธิดา โดยให้ส้นเท่าราบกับพื้น ส่วนมือวางคว่ำที่ขาเหนือเข่า
(1.2)        ยกมือประนมระหว่างอก แล้วยกมือขึ้นไหว้ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว แล้วก้มลงกราบ
(1.3)        การกราบให้คว่ำมือทั้งสองลงที่พื้น วางฝ่ามือแบนราบ ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้น ผู้ชายให้ข้อศอกทั้งสองข้างวางต่อเข่า ส่วนผู้หญิงให้ข้อศอกทั้งสองข้างอยู่ข้างตัวให้แนบชิดกับขาพับ
(1.4)        เงยหน้าขึ้น ยกลำตัวขึ้นและอยู่ในท่าประนมมือ แล้วก้มลงกราบให้ครบ 3 ครั้ง

(2)   การกราบบุคคลที่ควรเคารพ ได้แก่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ หรือญาติผู้ใหญ่
วิธีกราบ ให้นั่งคุกเข่าเช่นกัน ประนมมือระหว่างอก ยกมือขึ้นให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ก้มตัววางมือที่ประสมให้ตั้งบนพื้น ไม่ต้องแบมือ หน้าผากแตะหัวแม่มือ แล้วเงยหน้าขึ้น กราบเพียง 1 ครั้ง

     9.  ชาวพุทธตัวอย่าง
การศึกษาประวัติผลงานที่เป็นคุณงามความดีของบุคคลที่เป็นชาวพุทธตัวอย่าง เพื่อได้เรียนรู้การทำงาน และผลงานของท่าน ที่ให้ประโยชน์แก่บุคคลรุ่นหลังต่อมาในด้านพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นนี้จึงเรียนรู้ 2 ท่าน ดังนี้


9.1   สมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
สมเด็จพระญาณสังวร เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า สุก ท่านได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา จนได้รับสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ คนทั่วไปเรียกท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทั้งนี้เพราะท่านทรงคุณธรรมวิเศษในทางวิปัสสนาและแผ่เมตตา จนทำให้ไก่ป่าที่ปราดเปรียว จับไม่ได้ กลายเป็นไก่บ้านที่เชื่อง และยอมให้เฉพาะท่านอุ้มจับได้
สมเด็จพระญาณสังวร เป็นพระสงฆ์นักปฏิบัติที่มีคุณธรรม และจริยาวัตรดีงาม เป็นพระสงฆ์ที่ได้รับการเคารพสักการะอย่างมากจากพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ (รัชกาลที่ 1) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

9.2  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) เดิมชื่อ เจริญ ท่านบวชที่วัดเทวสัฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี บวชเป็นสามเณรเมื่อ อายุ 14 ปี ได้ศึกษาภาษาบาลี และนักธรรมจนแตกฉาน
ต่อมาท่านได้เข้าศึกษาเล่าเรียน และจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ท่านสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค ท่านเป็นสามเณรเพียงรูปเดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตร จาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ศึกษาพระธรรม และสอบได้เปรียญ 9 ประโยค ท่านยังศึกษา ภาษาสันสกฤต และภาษาอังกฤษอีกด้วย ท่านรับผิดชอบหน้าที่การงานต่าง ๆ ของพระศาสนามากมาย หน้าที่ที่ท่านได้รับสูงสุดเป็นกรณีพิเศษ คือ ได้เป็น  พระอภิบาล” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ในขณะที่พระองค์ออกผนวชเป็นพระภิกษุ
ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระญาณสังวร” ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จึงเห็นได้ว่าท่านเป็นผู้ศึกษาพระธรรมอย่างสนใจ จริงจัง และถ่องแท้ ท่านทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนามากมาย ทั้งยังจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไปด้วย

   10. การบริหารจิต และเจริญปัญญา
การบริหารจิต และการเจริญปัญญา เป็นสิ่งคู่กัน โดยมี สติ สัมปชัญญะคอยควบคุมจิตใจ ให้มีสมาธิ และเกิดปัญญาได้
10.1         ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง
(1)   สติ หมายถึง ความระลึกได้ ต้องคิดก่อนพูด หรือ ก่อนทำ ต้องนึกได้ว่า เราจะพูดอะไร เราจะทำสิ่งใด
(2)   สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว ไม่พลั้งเผลอ รู้ว่าสิ่งที่คิด หรือสิ่งที่จะพูดจะทำนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยใช้ปัญญาในการไตร่ตรองพิจารณาให้รอบคอบ
(3)   สมาธิ หมายถึง การทำจิตใจให้ตั้งมั่น จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดฟุ้งซ่านหลายอย่าง

10.2   กิจกรรมที่เป็นแนวทางฝึกสติ
การทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดสติ ไม่พลั้งเผลอ โดยฝึกจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ มีหลายแนวทางตามที่ได้กล่าวไปแล้วในระดับชั้น ป.1 คือ การสวดมนต์ไหว้พระแล้วแผ่เมตตา ซึ่งเราควรทำทุกวัน และการฟังเพลงและร้องเพลงอย่างมีสติ ในระดับชั้นนี้ ควรเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องมีสติ และเป็นการฝึกสติด้วย ดังนี้

ก.  การเล่นและการทำงานอย่างมีสติ
เราเป็นเด็ก เราชอบเล่นสนุกสนาน เช่น เราวิ่งเล่นไล่จับ ออกกำลังกายโดยเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ ได้แก่ ชิงช้า ม้าหมุน กระดานลื่น ฯลฯ บางครั้งเราเล่นอย่างลืมตัว เล่นไม่ระวัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะทำให้ตัวเราเอง หรือผู้อื่นบาดเจ็บ ทั้งการเจ็บไม่มาก หรือเจ็บสาหัส ที่อาจต้องพิการ หรือเสียชีวิตได้ เราต้องรู้ตัว มีสติเสมอในการเล่น เราไม่เล่นรุนแรง หรือแกล้งกัน และต้องมีน้ำใจที่ดีต่อกันในการเล่นด้วย
ในการทำงานที่พ่อแม่ หรือ ครูมอบหมายให้ทำ รวมทั้งงานส่วนตัวที่เราอยากจะทำ เราควรตั้งสติให้ใจจดจ่อ ทำงานนั้นให้เสร็จทันเวลา ไม่มัวแต่คุย ไม่ห่วงเล่น ไม่เหม่อลอย ถ้าเราทำงานเสร็จเร็ว และถูกต้อง จะทำให้มีเวลาทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราอยากทำอีกมาก



ข.  การฝึกสติด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวร่างกายของเราที่จะทำพร้อมเพรียงกันหลายคน ได้แก่ การเดินแถว หรือการตบมืเอเป็นจังหวะตามกำหนด ซึ่งทุกคนต้องมีสติ กำหนดใจให้จดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวนั้น การเคลื่อนไหวร่างกายดังกล่าว นำไปสู่การเดินขบวนพาเหรดในสนาม หรือกิจกรรมการเชียร์กีฬา ที่มีการตบมือตามจังหวะการเชียร์ ต้องมีการฝึกซ้อมให้พร้อมเพรียงกัน ทุกคนต้องสติควบคุมใจไม่ให้เผล มิฉะนั้นอาจจะเสียจังหวะได้

   11. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การเรียนรู้วันสำคัญ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราว ความเป็นมาของความสำคัญในวันนั้น สามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้องและเหมาะสม ก่อนถึงวันสำคัญ ครูผู้สอนจะให้เราเรียนรู้ว่าตรงกับเมื่อไร มีความสำคัญอย่างไร และสิ่งที่นิยมปฏิบัติมีอะไรบ้าง

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้
1)     วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญในสมัยพุธกาล คือ พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เหตุการณ์ทั้งสามนี้ตรงวันและเดียวกัน ต่างกันแต่ปี เรียกวันนี้ว่า วันพระพุทธ
2)     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ คือ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนครั้งแรกหลังจากตรัสรู้ เรียกว่า ปฐมเทศนา”  แก่ปัจวคีย์ คือ นักบวชทั้งห้ารูป แล้วมีนักบวชผู้เข้าใจหลักธรรมคำสอนท่านแรก ชื่อ โกณฑัญญะ” ได้ขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก จึงเรียกวันนี้ว่า วันพระสงฆ์” เพราะเป็นวันที่ทำให้มีพระรัตนตรัยครบ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3)     วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเข้าทรงสั่งสอนหลังจากที่ได้ตรัสรู้เป็นเวลาเกือบ 40 ปี ทำให้มีผู้นับถือ และขอบวชเป็นพรสงฆ์จำนวนมาก ได้แยกย้ายกันออเผยแผ่พระศาสนา เมื่อถึงวันนี้ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างเดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเข้าโดยมิได้นัดหมาย และพระสงฆ์ทั้งหมดที่มาเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเข้าทรงบวชให้ทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา” จึงเป็นโอกาสที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสำคัญที่เป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา” คือ เว้นการทำชั่ว หมั่นทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เรียกวันนี้ว่า วันพระธรรม
4)     วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันที่คณะสงฆ์ผู้เป็นสาวก ได้ทำพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าหลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานมาแล้ว 7 วัน
การปฏิบัติกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ ได้แก่
1)     ตั้งในทำความดีทั้ง กาย วาจา ใจ อย่างสม่ำเสมอ
2)     ฝึกทำสมาธิให้มีจิตใจสงบเป็นประจำ
3)     ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม
4)     ร่วมกิจกรรมเวียนเทียนที่วัดตอนค่ำ

      12. ศาสนพิธี
ศาสนพิธี หมายถึง ระเบียบแบบแผนหรือพิธีกรรมทางศาสนา ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธควรรู้วิธีการ และสามารถปฏิบัติตามพิธีการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ศาสนพิธีที่ควรรู้ และนำไปปฏิบัติได้ คือ

ก.     การทำบุญตักบาตร
การตักบาตร เป็นการทำบุญที่ผู้นับถือศาสนาพุทธ ถือปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ถือเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์อาศัยการบิณฑบาตทุกเช้าของแต่ละวัน เพื่อการดำรงชีพ ท่านฉันวันละ 2 มือ คือ มื้อเช้าและมื้อเพล (ก่อนเที่ยง) การตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติในทุกเทศการณ์ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันธรรมสวนะ (วันพระ) วันเกิดของเรา และวันธรรมดาทั่วไป เวลาตักบาตรเป็นเวลาเช้ามืดถึงตอนสาย ประมาณเวลา 6.00 – 7.00 น.
วิธีปฏิบัติในการตักบาตร
1)     เตรียมสิ่งของที่จะตักบาตรให้พร้อม เป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ มีกับข้าวและของหวาน ไม่ควรใส่อาหารที่มีปริมาณมาก ทำให้หนักเกินไป
2)     ก่อนจะตักบาตรให้ยกขันข้าวขึ้นอธิษฐาน
3)     ควรถอดรองเท้าขณะที่ตักบาตร
4)     ตักข้าวให้เต็มทัพพี ใส่ลงบาตร
5)     หลังตักบาตร ควรกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
ข.     การบูชาพระรัตนตรัย
1)     การจัดสถานที่บูชา อาจทำเป็นหิ้งติดข้างฝาให้อยู่สูงระดับสายตา หรือจัดเป็นโต๊ะหมู่บูชาไว้เป็นห้อพระ ซึ่งประกอบด้วย
(1)   พระพุทธรูป 1 องค์ขึ้นไป ถ้ามีหลายองค์นิยมจัดเป็นเลขคี่ และให้หันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศตะวันออก
(2)   กระถางเพื่อปักธูป 1 ใบ
(3)   เชิงเทียน 1 คู่
(4)   แจกัน 1 คู่

2)    เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
(1)   ธูป 3 ดอก เพื่อบูชาคุณทั้งสามของพระพุทธเจ้า คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
(2)   เทียน 2 เล่ม เพื่อบูชาคุณของพระธรรม
(3)   ดอกไม้ ที่จัดใส่แจกันอย่างมีระเบียบ สวยงาม เพื่อบูชาคุณของพระสงฆ์

o  ลำดับขั้นตอนจัดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจัดดอกไม้วางให้เข้าที่แล้วจุดเทียนด้านซ้ายมือของเราก่อนจึงจุดเทียนทางขวามือ และจุดธูป 3 ดอก เป็นลำดับสุดท้าย แล้วจึงสวดมนต์

3)    คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เป็นบทสวดมนต์ จะสวดแต่ภาษาบาลี หรือจะกล่าวคำแปลที่เป็นภาษาไทยด้วยก็ได้ เมื่อสวดมนต์แล้ว ควรกล่าวคำแผ่เมตตาด้วย










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...