วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 5 รู้จักเรื่องเวลา และชาติของเรา (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 5 รู้จักเรื่องเวลา และชาติของเรา (เนื้อหา)


Download (เนื้อหา)




   1.      เรื่องของเวลา
ตั้งแต่สมัยโบราณ คนรู้จักสังเกตธรรมชาติ และนับเวลาตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยสังเกตการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า แล้วกำหนดระยะเวลา มีการเรียกชื่อของเวลาหลายแบบ รวมทั้งสร้างเครื่องมือในการดูเวลา เช่น นาฬิกา และปฏิทิน เพื่อให้บอกเวลาได้ตรงกัน ในเบื้องต้น เราควรรู้จักเรื่องของเวลา และรู้เวลาอย่างง่าย ๆ ดังนี้
ก.     รู้เวลาจากดวงอาทิตย์
ทำให้รู้เวลาได้ 2 แบบ คือ
(1)   เวลากลางวัน เป็นเวลาที่เห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ มีชื่อเรียกเวลาย่อยลงไปอีก คือ เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น
(2)   เวลากลางคืน เป็นเวลาที่มองไม่เห็นดวงอาทิตย์ มีแต่ความมืด ซึ่งเรียกเวลาย่อย คือ ค่ำ ดึก
ข.     รู้เวลาตามลำดับก่อน หลัง
มี 3 ลำดับ ดังนี้
(1)   เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว มีชื่อเรียก คือ เมื่อวาน อดีต ปีก่อน
(2)   เวลาที่กำลังเป็นอยู่ มีชื่อเรียก คือ วันนี้ ปัจจุบัน ปีนี้
(3)   เวลาที่ยังมาไม่ถึง มีชื่อเรียก คือ พรุ่งนี้ อนาคต ปีหน้า
ค.     รู้เวลาจากปฏิทิน
ปฏิทินเป็นแผ่นกระดาษพิมพ์ ที่บอกเวลาเป็น วัน เดือน ปี
(1)  การนับเวลาตามปฏิทิน มีดังนี้
7  วัน                               เป็น 1 สัปดาห์
4 สัปดาห์ หรือ 30 วัน                    เป็น 1 เดือน
12 เดือน                           เป็น 1 ปี
365 วัน หรือ 366 วัน           เป็น 1 ปี
12 ปี                                เป็น 1 รอบ

(2)  ลำดับชื่อ วัน เดือน ปี
-          1 สัปดาห์ มี 7 วัน คือ
1)     วันอาทิตย์           – สีแดง  
2)     วันจันทร์             – สีเหลือง
3)     วันอังคาร            – สีชมพู
4)     สันพุทธ              – สีเขียว
5)     วันพฤหัสบดี         – สีส้ม
6)     วันศุกร์               – สีฟ้า
7)     วันเสาร์              – สีม่วง
-          ปี มี 12 เดือน คือ
1)     เดือนมกราคม
2)     เดือนกุมภาพันธ์
3)     เดือนมีนาคม
4)     เดือนเมษายน
5)     เดือนพฤษภาคม
6)     เดือนมิถุนายน
7)     เดือนกรกฎาคม
8)     เดือนสิงหาคม
9)     เดือนกันยายน
10) เดือนตุลาคม
11) เดือนพฤศจิกายน
12) เดือนธันวาคม
** เดือนที่ลงท้ายด้วยคม มี 31 วัน
** เดือนที่ลงท้ายด้วย ยน มี 30 วัน
** เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 หรือ 29 วัน

  

-          1 รอบ มี 12 ปี คือ
1)     ปีชวด – หนู
2)     ปีฉลู – วัว
3)     ปีขาล – เสือ
4)     ปีเถาะ – กระต่าย
5)     ปีมะโรง – งูใหญ่
6)     มีมะเส็ง – งูเล็ก
7)     ปีมะเมีย – ม้า
8)     มีมะแม – แพะ
9)     ปีวอก – ลิง
10) ปีระกา – ไก่
11) ปีจอ – หมา
12) ปีกุน – หมู

   2.     เวลามีค่าสำหรับชีวิต
เมื่อเราเกิดมา ก็ได้รับการบันทึกวัน เดือน ปีเกิด ทำให้เรารู้อายุเมื่อเติบโตขึ้น ขณะที่เราเป็นเด็ก ต้องศึกษาเรียนรู้จากที่บ้าน และที่โรงเรียน จึงสามารถช่วยตนเองได้ เราอ่านออกเขียนได้ คิดเลข และทำงานได้หลายอย่าง โดยมีพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ดูแลอบรมสั่งสอนเรา ให้เรามีความรู้ความสามารถ มีน้ำใจที่ดี รู้จักแก้ปัญหา และปรับปรุงตัวเอง ทั้งในเรื่องการทำงาน และช่วยเหลือสังคมที่เกี่ยวข้องได้
การดำเนินชีวิตตามที่กล่าวมา เราต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม และทำสิ่งที่ดีงามอย่างต่อเนื่อง เพราะเวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เนื่องจากเวลาที่ผ่านไปแล้ว จะย้อนกลับคืนมาอีกไม่ได้ ดังนั้นเราจึงทำสิ่งต่างๆ ในวันนี้ให้ดีที่สุด





   3.     ประวัติข้อมูลของตนเองและครอบครัว
เราต้องรู้เรื่องราวของตนเองและครอบครัว สามารถบอกเรื่องที่เป็นจริง หรือข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ได้ถูกต้อง เพราะข้อมูลเหล่านี้เป็นหลักฐานเฉพาะที่บอกประวัติในแต่ละด้านของเรา บางเรื่องต้องจดบันทึก และมีเอกสารทางราชการรับรองด้วย
ประวัติข้อมูลของตนเองและครอบครัว มีดังนี้
ก.     ประวัติส่วนตัว
o  คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล
o  วันเกิด วัน เดือน ปี เกิด
o  เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (13 หลัก)
o  กลุ่มเลือก โรคประจำตัวที่เป็น
ข.     ประวัติครอบครัว และที่อยู่อาศัย
o  ชื่อ บิดา นามสกุล อาชีพ
o  ชื่อ มารดา นามสกุล อาชีพ
o  จำนวนพี่และน้อง
o  เลขที่บ้าน หมู่ที่ ซอย ถนน
o  แขวงหรือตำบล เขตหรืออำเภอ จังหวัด

   4.     ชาติไทยของเรา
ก.      ความหมาย และความสำคัญ
(1)   ชาติ แปลว่า ประเทศ หรือ แผ่นดิน แผนดินที่เราเกิด และ ได้อยู่อาศัย ชาติของเราคือชาติไทย
(2)   ชาติไทย เป็นชาติเก่าแก่ มีเอกราชมาช้านานแล้ว และมีขอบเขตของดินแดนที่แน่นอน คนที่เกิด และอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย เรียกว่า เป็นคนไทย
(3)   เอกราช หมายถึง ความเป็นอิสระ มีเสรีภาพ ไม่อยู่ใต้การปกครองของชาติอื่น
ชาติไทยของเรา มีเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์มานานนับพันปี เราเป็นคนไทย ต้องเรียนรู้เรื่องชาติไทยในอดีต เพื่อรู้เหตุการณ์ที่สำคัญ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิดของเรา ที่มีบรรพบุรุษได้ยอมเสียสละชีวิต และเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยมาจนทุกวันนี้
ข.     ยุคสมัยของชาติไทย
คนไทยได้มีการรวมกลุ่มในดินแดนปัจจุบันนี้มานานมาก ตั้งแต่ประมาณ พ.. 1800 ซึ่งมีร่องรอย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า คนไทยรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นแล้ว ยุคสมัยของชาติไทย มีตามลำดับ ดังนี้
(1)   สมัยสุโขทัย เป็นสมัยแรกของคนไทยที่รวมกันอยู่ในดินแดนนี้ โดยมีเมืองหลลวง ที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง คือ กรุงสุโขทัย มีระยะเวลาของยุคสมัยนี้ประมาณ 200 ปี
(2)   สมัยอยุธยา เป็นยุคสมัยต่อมา มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา ยุคนี้มีช่วงระยะเวลายาวนานถึง 417 ปี มีการสู้รบเพื่อแย่งชิงดินแดนกับพม่า
(3)   สมัยธนบุรี เป็นยุคสมัยที่ 3 ซึ่งมีช่วงระยะเวลาสั้นมาก คือ 15 ปี
(4)   สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นยุคปัจจุบัน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงเทพฯ มีพระมหากษัตริย์ เป็นพระประมุขของชาติ ปัจจุบันมาถึงรัชกาลที่ 9ฃ

ค.     พระมหากษัตริย์ไทย
พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นผู้นำ หรือ หัวหน้าของคนไทยที่ต่อสู้เพื่อรักษาแผ่นดินไทยมาตั้งแต่อดีต ทำให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นและมั่นคง มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านความเป็นอยู่ การทำมาหากิน และวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ มากมาย
พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราชวงศ์จักกรี พระพระราชสมภพ (เกิด) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2471 พระมหากษัตริย์ไทย หรือเราถวายพระนาทที่รู้จักกันดีคือ ในหลวง ทรงเอาพระทัยใส่ในความทุกข์ สุขของประชาชน ทรงส่งเสริมด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  
ง.       สัญลักษณ์ของชาติไทย
สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่กำหนดให้มีความหมายแทนสิ่งสำคัญ ดังนั้น สัญลักษณ์ของชาติไทย หมายถึง สิ่งที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้มีความหมายแทนชาติไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน คือ
(1)  ธงชาติไทย
ธงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นเอกราชของชาติไทย ธงชาติไทย ชื่อ ธงไตรรงค์ แปลว่า ธงสามสี
สัญลักษณ์ของธงชาติไทย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 สี 5 แถบ คือ แถบริมบน และริมล่างสุดเป็นสีแดง ถัดมาเป็นสีขาว 2 แถบ ตรงกลางเป็นแถบใหญ่สีน้ำเงิน 1 แถบ
ความหมายของสีในธงชาติไทย
o  สีแดง หมายถึง ชาติ แสดงถึงความสามัคคีของคนไทยที่ได้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อปกป้อง และรักษาแผ่นดินไทย
o  สีขาว หมายถึง ศาสนา เป็นคำสอนที่ให้คนไทยมีความดีงาม ทั้งการกระทำ การพูดจา และทางจิตใจ
o  สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขของชาติ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศ

การเชิญธงชาติ
ผู้เชิญธงชาติ ต้องแต่งกายสะอาด เรียบร้อย จำนวน 2 คน โดยให้เชือกด้านที่มีธงชาติอยู่ที่ผู้ยืนด้านขวามือ เวลาเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา เป็นเวลาเช้า ประมาณ 8  นาฬิกา ในโรงเรียนทุกแห่งจะให้นักเรียนเข้าแถวตามลำดับสูงต่ำ เป็นแต่ละชั้นเรียน และร้องเพลงชาติไทยอย่างพร้อมเพรียงกัน เมื่อถึงตอนเย็นเวลา 18 นาฬิกา ก็จะเชิญลงจากยอดเสา โดยพับผืนธงชาติไว้บนพาน และวางพานไว้ในที่สูง
(2) เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นชาติ เป็นเพลงที่ร้องขณะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในตอนเช้า เราต้องร้องตามเนื้อเพลงให้ถูกต้อง ชัดถ้อย ชัดคำ และเข้าใจความหมายของเนื้อเพลง ที่ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักแผ่นดินไทย รักสงบ สามัคคี กล้าหาญ พร้อมที่จะปกป้องเอกราชของชาติไทย เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติ เราต้องหยุดเดิน และยืนตรง เพื่อแสดงความเคารพ

(3) เพลงสรรเสริญพระบารมี

เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงที่ใช้ในการถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเราได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องยืนตรง เพื่อแสดงถึงความเคารพ และความจงรักภักดีแด่พระองค์ท่าน ในการทำพิธีถวายพระพร เนื่องในวันเฉลมพระชนมพรรษา เมื่อเราต้องเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ต้องถวายความเคารพทุกครั้ง คือ ผู้ชาย ให้โค้งคำนับ ผู้หญิง ให้ถอนสายบัว




Download (เนื้อหา)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...