วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 4 เศรษฐกิจเบื้องต้น (เนื้อหา)

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 4 เศรษฐกิจเบื้องต้น (เนื้อหา)


Download (เนื้อหา)



   1.      ความหมายและความสำคัญของเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ คือ เรื่องเกี่ยวกับการทำงาน มีรายได้ และการรู้จักใช้จ่าย เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมและดีวาม
คนที่เติบโต มีอายุพอควร ต้องทำงานโดยมีอาชีพต่าง ๆ กัน ตามความรู้ความสามารถ เพื่อให้มีรายได้ หรือเงิน มรใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เราเป็นเด็กยังไม่มีรายได้ ยังไม่ได้ทำงาน เพราะเราต้องศึกษาเล่าเรียนให้มีความรู้ความสามารถก่อน จึงจะทำงานประกอบอาชีพได้

   2.     สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
คนเราจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ต้องมีสิ่งจำเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปัจจัย 4 คือ
(1)   อาหาร เรากินอาหารที่ดี มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายเติบโต แข็งแรง และช่วยต้านทานโรค เช่น ข้าว ไข่ เนื้อ นม ผักผลไม้ โดยทำเป็นอาหารที่สด และ สะอาด เราไม่ควรกินของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้ำอัดลม ทอฟฟี่ ขนมกรุบกรอบ ของหมักดอง เพราะทำให้เราฟันผุ ท้องเสีย และไม่แข็งแรง
(2)   ที่อยู่อาศัย  เราอยู่ในบ้านที่สะอาดและปลอดภัย เราหมั่นกวาด เช็ดถู จัดเก็บสิ่งของ เครื่องใช้ให้เป็นที่ ไม่รกรุงรัง ทำให้ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หรือ แหล่งที่อยู่ของสัตว์บางชนิด
(3)   เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เมื่อใช้แล้ว ต้องซักรีดให้สะอาด ไม่หมักหมมจนขึ้นรา เครื่องนอนหมั่นตากแดด
(4)   ยารักษาโรค เมื่อไม่สบายหรือเจ็บป่วย จำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาให้หาย

   3.     รายได้ รายจ่าย
พ่อแม่ทำงาน มีอาชีพ ความรู้ความสามารถ ทำให้มีรายได้ตอบแทนที่เป็นเงิน เพื่อนนำมาใช้ซื้อ หรือ จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพราะคนเราไม่สามารถทำหรือผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นได้ทุกอย่าง จึงต้องใช้เงินที่เราเป็นรายได้มาซื้อจ่ายสิ่งของที่ต้องการ
เราเป็นเด็ก ยังไม่ได้ทำงาน จึงไม่มีรายได้ แต่เราก็มีรายจ่ายเมื่อมาโรงเรียน พ่อแม่ให้เงินเรา ทำให้เราได้นำมาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น
รายได้ คือ เงินตอบแทนที่ได้จากการทำงาน หรือ ขายของที่เป็นสินค้าต่าง ๆ เป็นรายรับ
รายจ่าย คือ การใช้เงินเพื่อซื้อหรือจ่าย ในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

   4.     ซื้อจ่าย และใช้ให้คุ้มค่า
พ่อแม่ให้เงินแก่เราได้ใช้จ่าย เมื่อมาโรงเรียนทุกวัน เราต้องรู้จักซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของกินของใช้ให้เหมาะสม ต้องนึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ก่อนซื้อสิ่งของใด ๆ ควรตรวจสอบว่า ยังมีของเดิมอยู่ และยังใช้ได้ดี ก็ไม่ควรซื้อมาอีก เราต้องไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ซื้อจนเงินหมด ให้รู้จักการประหยัด การเก็บออม และความพอเพียง ดังนี้
ก.      การประหยัด
การประหยัด คือ การรู้จักกิน รู้จักใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว มีข้อควรทำ ดังนี้
(1)   ซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และซื้อให้พอดี ไม่เหลือทิ้ง
(2)   รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังหาย
(3)   ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาเท่าที่จำเป็น ไม่เปิดทิ้งไว้
(4)   ดูแลเครื่องเขียน ของใช้ในการเรียนให้ครบ ไม่ทำหาย
(5)   ไม่ควรซื้อของเล่นมากเกินไป
(6)   ทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ เพื่อให้ใช้ได้นาน ๆ
ข.     การเก็บออม
การเก็บออม คือ การแบ่งเงินรายได้ มาเก็บสะสมไว้ทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช้จนหมดไป รู้จักทำการบันทึก รายรับ รายจ่าย ประโยชน์ของการเก็บออม คือ ทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้น เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายเมื่อเวลาจำเป็น เช่น รักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย เป็นทุนเรียนต่อในระดับสูงขึ้น ซื้อของจำเป็นที่ต้องการ เป็นเงินลงทุนเมื่อประกอบอาชีพ
ค.      ความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริ เป็นหลักคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเหมาะ พอดี รู้จักการใช้จ่ายที่ให้ประโยชน์ คุ้มค่า โดยมีแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นตามวัย ดังนี้
(1)   ตั้งใจเรียน และฝึกฝนการทำงานให้เป็นพื้นฐานที่ดีเมื่อเติบโต
(2)   รู้จักใช้เงิน สิ่งของเครื่องใช้ รวมทั้งเวลา อย่างประหยัด และได้ประโยชน์ ไม่น้างปัญหา แต่รู้จักแก้ไขเมื่อมีปัญหา
(3)   เมื่อถึงวัยทำงาน มีอาชีพ ต้องทำงานสุจริต ด้วยความขยันขันแข็ง ให้มีรายได้เพื่อนำมาใช้จ่าย
(4)   รู้จักการเก็บออม โดยฝึกการใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายได้
(5)   มีน้ำใจ ช่วยเหลือกันตามความเหมาะสม
(6)   ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพดี ไม่มีพิษภัย
(7)   รู้จักปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่าย

(8)   รัก และปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มอากาศดี และลดความร้อนที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...