วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 2 บ้านและครอบครัว (เนื้อหา)


คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 2 บ้านและครอบครัว (เนื้อหา)


Download (เนื้อหา)  

คู่มือเตรียมสอบ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1 - 2 - 3 ___ สังคม ป.1 - บทที่ 2 บ้านและครอบครัว (เนื้อหา)  

1.      ความหมายและความสำคัญ
บ้าน  คือ ที่อยู่อาศัยของคน บ้านมีหลายแบบ มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เรือน กระท่อม ตึกแถว แฟลต คอนโดมิเนียม
ทุกคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน เรียกว่า ครอบครัว ซึ่งเป็นสมาชิกในบ้าน มี พ่อ แม่ พี่น้อง และตัวเรา
บ้านเป็นที่พักผ่อนและดำรงชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว กินอาหาร ดูทีวี นอนหลับ ในบ้านจะมีห้องที่สำคัญ คือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ส่วนห้องอื่น ๆ แล้วแต่ขนาด และฐานะของคนในบ้าน ซึ่งบ้านยังเป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของทุกคนในบ้านด้วย
ความสำคัญของบ้าน คือ เป็นที่อยู่อาศัยอย่างสุขกายสุขใจ ขนาดของบ้านไม่สำคัญเท่ากับคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน มีความรัก ความห่วงใย เข้าใจและมีน้ำใจต่อกัน ช่วยกันดูแลจัดบ้านให้สะอาด ไม่รกรุงรัง ทุกคนในบ้านก็มีความสุข

2.     บุคคลในบ้านและญาติผู้ใหญ่
คนที่อยู่บ้านเดียวกัน เรียกว่า ครอบครัว ซึ่งมีหลายคน ครอบครัวของเรามี พ่อ แม่ พี่ น้อง และตัวเรา นอกจากนี้อาจมีญาติมาอาศัยอยู่ด้วย
(1)  พ่อแม่
    พ่อแม่ คือ ผู้ให้กำเนิดเรา เลี้ยงดูเราจนเติบโต ให้เราได้ศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้มีความรู้ ความคิด นำไปประกอบอาชีพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
(2) ญาติผู้ใหญ่
ญาติ คือ ผู้ที่มีความสัมพันธ์ กับครอบครัวของเรา ญาติผู้ใหญ่ของเรามี ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ก.      ญาติฝ่ายทางพ่อ ได้แก่
ปู่ คือ พ่อของพ่อ
ย่า คือ แม่ของพ่อ
ลุง คือ พี่ชายของพ่อ
ป้า คือ พี่สาวของพ่อ
อา คือ น้องชาย หรือ น้องสาวของพ่อ
ข.      ญาติทางฝ่ายแม่ ได้แก่
ตา คือ พ่อของแม่
ยาย คือ แม่ของแม่
ลุง คือ พี่ชายของแม่
ป้า คือ พี่สาวของแม่
น้า คือ น้องชาย หรือ น้องสาวของแม่



3.     ข้อมูลของตัวเราและครอบครัว
เราได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียนที่เราไปเรียนเหมือนกับเพื่อน ๆ เพราะเป็นเรื่องของข้อมูลเดียวกัน เราทราบข้อมูลของโรงเรียนโดยการสอบถามจากครู แต่ข้อมูลของตัวเราเอง และครอบครัว ต้องแตกต่างจากเพื่อน เราต้องรู้จักสำรวจข้อมูลโดยการสอบถามจากพ่อ แม่ พี่ หรือ ญาติผู้ใหญ่ และจดบันทึกไว้เพื่อให้จำได้
ข้อมูลที่ควรสำรวจเกี่ยวกับตัวเอง และครอบครัว ได้แก่
(1)   เชื่อ นามสกุล และวันเดือนปีเกิดของฉัน
(2)   จำนวนสมาชิกในบ้าน มี ___ คน
(3)   ชื่อพ่อแม่ และอาชีพการงานของท่าน
(4)   บ้านของฉันเลขที่ ______ ซอย______ ถนน _____ ตำบล (แขวง) _________ อำเภอ (เขต) _________ จังหวัด ____________
(5)   งานในบ้านที่ฉันช่วยทำได้ คือ ____________
4.     บทบาทหน้าที่ของบุคคลในครอบครัว
บุคคลในครอบครัว คือ สมาชิกที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังนี้
(1)   พ่อ คือผู้ชายที่ให้กำเนิดเรา เป็นหัวหน้าครอบครัว พ่อมีบทบาทในการดูแล และช่วยเหลือทุกคนในบ้าน
หน้าที่ของพ่อ
-          ทำงานเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในบ้าน
-          อบรมและสอนลูกให้รู้หน้าที่ และให้เป็นคนดี
-          ดูและและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้าน เช่นซ่อมแซมเครื่องใช้ที่ชำรุด
-          ช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้แก่สมาชิกในบ้าน
-          ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก

(2)   แม่ คือ ผู้หญิงที่ให้กำเนิดเรา เป็นผู้ช่วยของพ่อ แม่มีบทบาทในการดูแลความเป็นอยู่ และจัดการเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้านให้เรียบร้อย บางบ้านแม่ต้องทำงานเพื่อช่วยหารายได้มาใช้จ่ายด้วย
หน้าที่ของแม่
-          ดูแลจัดการเรื่องอาหารการกิน
-          ทำความสะอาดบ้านและเสื้อผ้า
-          สอนให้ลูกรู้หน้าที่ และฝึกให้ช่วยงานบ้าน
-          จัดการดูแลการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสม
-          ให้กำลังใจลูก ดูแลเมื่อลูกไม่สบาย

(3)   ลูก คือ ผู้ที่เกิดจากพ่อแม่ เราเป็นลูก เรามีพี่และมีน้อ
หน้าที่ของลูก
-          ตั้งในศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้
-          เชื่อฟังและทำตามคำสั่งสอนของพ่อแม่
-          ช่วยเหลืองานในบ้านที่ทำได้ ไม่ทำเฉย
-          ช่วยประหยัดสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน
-          มีน้ำใจต่อพ่อแม่ พี่น้อง ไม่ทะเลาะกัน
5.      การช่วยเหลือครอบครัว
เราอยู่ด้วยกันในครอบครัวอย่างมีความสุข เพราะทุกคนในบ้านดูและช่วยเหลือกัน มีน้ำใจต่อกัน พ่อแม่ทำงานหาเงินมาใช้จ่ายและเลี้ยงดูลูกให้ได้เล่าเรียน เราเป็นลูกจึงต้องรู้จักช่วยเหลือครอบครัว ดังนี้
(1)   ตื่นนอนแต่เช้า เก็บที่นอน ช่วยตัวเองในการทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว กินอาหาร และการขับถ่ายโดยไม่ต้องรอให้พ่อแม่บอกทุกครั้ง
(2)   ช่วยทำงานในบ้านตามความสามารถ โดยฝึกทำเป็นประจำ เช่น กวาดถูบ้าน เก็บของใช้ ของเล่นให้เข้าที่
(3)   ช่วยปิดไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อใช้แล้ว
(4)   ใช้น้ำประปาให้พอดี เท่าที่จำเป็น
(5)   ไม่พูดคุยเล่นทางโทรศัพท์นานเกินไป
(6)   รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนพอเพียง หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา
(7)   มีส่วนช่วยในการจัดสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน หรือหยิบไปใช้ต้องนำกลับมาไว้ที่เดิม

การฝึกตนในการช่วยเหลือครอบครัว ต้องฝึกตั้งแต่เล็ก ให้เป็นนิสัยที่ดี และนำไปปฏิบัติได้จนเป็นผู้ใหญ่ เป็นการสร้างคุณภาพให้แก่ชีวิตของเราเอง

6.      มารยาทในการกิน
เราต้องฝึกมารยาทในการกิน โดยที่พ่อแม่ หรือ ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ที่แนะนำ สั่งสอนเรา เรามีมารยาท และนิสัยที่ดีในการกิน ดังดี
(1)   ตักอาหารให้พอดี แล้วกินให้หมอและเคี้ยวให้ละเอียด
(2)   รู้จักใช้ช้อนส้อม และใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
(3)   ตั้งใจกินให้เสร็จ ไม่เล่นคุยหยอกล้อกันขณะที่กิน
(4)   กินไม่มูมมาม รีบร้อนจนหกเลอะเทอะ
(5)   ล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหารและหลักกินอาหาร
(6)   ช่วยหยิบหรือยกสิ่งต่าง ๆ ที่ทำได้ เพื่อผ่อนแรงและแสดงน้ำใจ เช่น ยกถ้วยจานที่ใช้แล้วไปไว้ที่บ้าง หรือฝึกล้างภาชนะที่พอทำได้ ช่วยเช็ดโต๊ะอาหาร

7.      ฝึกตนให้มีพื้นฐานการเรียนและการทำงาน
การช่วยเหลือตนเอง และการฝึกมารยาทในด้านต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปนั้น เป็นการฝึกตนเองในเบื้องต้นจากที่บ้านและที่โรงเรียน ทำให้เรามีนิสัย และการกระทำที่ดีงาม เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเรียน ซึ่งยังมีเรื่องที่ควรรู้ และฝึกตนเองให้ทำได้ตามวัย ดังนี้
(1)   รู้จักฟัง และอ่านเรื่องต่าง  ๆ ให้เข้าใจ รู้จักถามถ้ายังไม่เข้าใจ
(2)   พูดตอบ หรือพูดถามให้ชัดเจน
(3)   เขียนสิ่งที่เรารู้หรือสิ่งที่เราอยากจะบอกให้ตรงเรื่อง
(4)   ทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งที่โรงเรียน และที่บ้านให้เสร็จทันเวลา ไม่มัวพูดคุย หรือเล่นโอ้เอ้อยู่
(5)   ทำตามกฎระเบียบที่กำหนด รู้จักแก้ไขปรับปรุงตนเองในเรื่องที่บกพร่องให้ดีขึ้น


Download (เนื้อหา)   Download (แบบฝึกหัด)    Download (แบบทดสอบ) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blog เพื่อนการศึกษา

***Blog เพื่อนการศึกษา*** สรุปเนื้อหาเข้า ป.1 - ม.6 สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ป.3 (สรุปตามสาระการเรียนรู้) แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู...